วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

คุณค่าที่แท้ ของประกันชีวิต

คุณไม่ได้ซื้อกระดาษแต่คุณซื้อข่าว 

คุณไม่ได้ซื้อกระจกที่มีกรอบแต่คุณซื้อสายตาที่ชัดเจน 

คุณไม่ได้ซื้อกันสาดแต่คุณซื้อเงากันแดด 

และคุณก็ไม่ได้ซื้อประกันชีวิตแต่ซื้อการศึกษาสำหรับลูก 

รายได้ตลอดชีพสำหรับพรรยา 

เงินเกษียณสำหรับคนแก่ คุณซื้อความสงบทางใจ 

ความสุขและความพอใจเมื่อคุณซื้อประกันชีวิต



( ภาพกระกอบทางอินเตอร์เน็ต insuranceplansma.com )

เมืองไทยประกันชีวิต ของคนหัวคิดทันสมัย

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สูงวัย จะสะบายใจดีหรือเปล่า

 หากผู้ประกันตนส่งเงิน สมทบครบ 180 เดือน (15 ปี) จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ (รับทุกเดือนตลอดชีวิต) ซึ่งสำนักงานประกันสังคม (สปส.) จัดเก็บเงินสมทบกรณีชราภาพ จากนายจ้างและลูกจ้างฝ่ายละ 3% ของค่าจ้างอยู่แล้ว ขณะนี้ยังไม่มีผู้ใดได้รับเงินบำนาญชราภาพ เพราะ สปส. เริ่มเก็บเงินสมทบชราภาพเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2541 จะสามารถจ่ายบำนาญชราภาพได้ในปี 2557 เป็นปีแรก

หลักเกณฑ์รับเงินบำนาญ ชราภาพ คือ ผู้ประกันตนจะได้รับเงิน 15% ของค่าจ้าง 60 เดือนสุดท้าย (ฐานค่าจ้าง 15,000 บาท/เดือน) และถ้าส่งเงินสมทบมากกว่า 15 ปี จะได้รับเพิ่มอีกร้อยละ 1 ทุกๆ ปี ในขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการปรับเพิ่มเงินบำนาญ จากอัตรา 15% เป็น 20% ของค่าจ้าง และเพิ่มอัตราผลประโยชน์หลังปีที่ 15 จากเดิม 1% เป็น 1.5% เท่ากับจำนวนปีที่เพิ่มมา เป็นการปรับให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม

ตัวอย่างวิธีคำนวณของ ผู้ที่มีเงินเดือน 5,000 บาท ดังนี้

นายประกัน มีการนำส่งเงินสมทบฐานเงินเดือน 15,000 บาทโดยตลอด

-เงินสมทบ 6% (ผู้ประกันตน 3% และนายจ้าง 3%) ของ 5,000 บาท คือ 900 บาท/เดือน

-ทำงานมา 15 ปี รวมจ่ายเงินสมทบ 900x12x15 = 162,000 บาท

นายประกัน เกษียณเมื่ออายุ 55 ปี

-บำนาญที่ได้รับ 15% ของ 15,000 บาท คือ 2,250 บาท/เดือน
 พอใช้ไหมนะ ?
ภาวะเงินเฟ้อล่ะ ?

-แต่หากอายุยืนไปถึง 20 ปี รวมรับบำนาญ = 2,250x12x15 = 540,000 บาท

ว่าแต่ว่าเราไม่ได้ 540,000 บาททีเดียวนี้สิ ?

ขอเปลี่ยน เป็นบำเหน็จแทนได้หรือไม่ ถ้าได้ มีหลักเกณฑ์การคิดอย่างไร?

การรับสิทธิประโยชน์ จากบำนาญชราภาพ ไม่สามารถเปลี่ยน หรือเลือกรับสิทธิประโยชน์ได้ เนื่องจากพระราชบัญญัติประกันสังคม กำหนดไว้ว่า

ผู้ประกันตนที่ส่ง เงินสมทบน้อยกว่า 180 เดือน (15 ปี) จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ โดยผู้ที่ส่งไม่ครบ 12 เดือน มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพเฉพาะส่วนของตนเองกลับคืนทั้งหมดเท่านั้น แต่ถ้าส่งเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 180 เดือน (15 ปี) จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพในส่วนของลูกจ้างและนายจ้างที่จ่ายสมทบเข้ากองทุน พร้อมดอกผลตามอัตราที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด

หากส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน (15 ปี) จึงได้รับเงินบำนาญชราภาพ (รับทุกเดือนตลอดชีวิต)



ให้บริการปรึกษา แนะนำ การประกันชีวิตรูปแบบต่างๆ ของเมืองไทยประกันชีวิต

โครงการเมืองไทย สูงวัย สบายใจ แผน 1 รายเดือน
ไม่มีการตรวจสุขภาพ
คุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัย หากมีความเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง

     1. หัวใจวาย (Heart Attack)
     2. มะเร็ง (Cancer)
     3. โรคหลอดเลือดในสมอง (Stroke)
     4. การผ่าตัดเปิดหัวใจด้วยวิธี Bypass (Coronary Artery Bypass Surgery)
     5. ทุพพลภาพสิ้นเชิงและถาวร (Total and Permanent Disability)

เฉลี่ยวันล่ะ  9  บาท

โครงการเมืองไทย บำนาญ เอ85/1(บำนาญ 1,000,000)
วางแผน รับเงิน เดือนล่ะ 10,000 บาท หรือ ปีล่ะ 120,000 บาท

 ให้บริการปรึกษา แนะนำ การประกันชีวิตรูปแบบต่างๆ ของเมืองไทยประกันชีวิต
เมืองไทยประกันชีวิต จังหวัดลำพูน  เมืองไทยประกันชีวิต จังหวัดเชียงใหม่

จะบำเหน็จ จะบำนาญ จะคุ้มครองชีวิต จะคุ้มครองโรคร้าย จะทำเป็นมรดก
จะแบบไหนเราสามารถจัดให้ได้ 

เมืองไทย ประกันชีวิต ของคนหัวคิดทันสมัย

ที่ปรึกษา ประกันชีวิต เมืองไทยประกันชีวิต ( สะสม 7 )
คุณ ณพล ธนัชพลังกร
โทร. 082-188-568-3

แบบ ประกัน เมืองไทย ประกันชีวิต

 

วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประกันชีวิต เป็นสิ่งจำเป็น...จริงหรือ

หนึ่งในคำถามทางการเงินยอดฮิตที่ผมมักถูกถามอยู่ เสมอก็คือ “คนเราทุกคนต้องทำประกันชีวิตหรือไม่” และ “ควรทำประกันไว้เท่าไหร่ถึงจะดี”

วันนี้ Financial Literacy เราจะมาคุยเรื่องนี้กันครับ

ทุกครั้งที่นึกถึง “การประกัน” คำหนึ่งที่เรามักได้ยินควบคู่กันอยู่เสมอก็คือคำว่า “ความเสี่ยง” หรือ Risk ซึ่งหมายถึง ความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่เป็นภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งส่งผลกระทบ (ทางลบ) ต่อสถานะทางการเงินและสภาวะทางอารมณ์ของผู้ที่ได้รับเหตุการณ์ที่เป็นภัย นั้น เขียนเป็นสมการคณิตศาสตร์ง่ายๆ ได้ดังนี้

ความเสี่ยง (Risk) = โอกาสในการเกิดเหตุการณ์ที่เป็นภัย (Likelihood) x ความรุนแรงของผลกระทบ (Severity)

พูดให้ง่ายเข้าก็คือ การพิจารณาเรื่องของ “ความเสี่ยง” นั้น ต้องมองประกอบกันในสองมิติ นั่นคือ มิติด้านโอกาสในการเกิดภัยหรืออันตรายนั้น และอีกมิติก็คือ ความรุนแรงของผลกระทบที่เกิดจากภัยนั้นๆ

ดังนั้น หากเราจะพิจารณากันในเรื่องของประกันชีวิต ก็ควรพิจารณากันในสองมิติสำคัญ นั่นคือ

1) โอกาสในการเสียชีวิต ซึ่งสามารถพิจารณาได้จาก เพศ อาชีพ การใช้ชีวิตประจำวัน โรคประจำตัว รวมไปถึงลักษณะนิสัย เช่น การทานอาหาร การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา การออกกำลังกาย ฯลฯ ของบุคคลนั้นๆ

อย่างเช่น บุคคลที่ทำอาชีพวิศวกรคุมงานก่อสร้าง ก็จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้มากกว่าพนักงานออฟฟิศ หรือคนที่ดื่มสุราเป็นประจำก็มีโอกาสเสียชีวิต (อายุสั้น) มากกว่าคนที่ไม่ดื่ม เป็นต้น

2) ความรุนแรงของผลกระทบ กรณีเสียชีวิต โดยให้พิจารณาว่า หากบุคคลนั้นเสียชีวิตลง หรือแม้แต่ทุพลภาพไป จะส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของครอบครัว และบุคคลที่อยู่ข้างหลังอย่างไรบ้าง ถ้าหากการจากไปของเขาส่งผลกระทบให้ครอบครัว หรือคนข้างหลังต้องแบกภาระหนี้สินต่อ หรือขาดสภาพคล่องในการดำเนินชีวิต อย่างนี้ก็ถือว่ามีความรุนแรงและผลกระทบในระดับสูง

เรามาดูตัวอย่างกันสักนิดนะครับ

สมมตินายเอ เป็นลูกคนเดียว พ่อแม่มีอาชีพรับราชการใกล้เกษียณ ส่วนตัวเองเป็นพนักงานออฟฟิศ ทำงานในกรุงเทพ รักการดื่มเป็นชีวิตจิตใจ แถมยังติดบุหรี่ชนิดงอมแงม เลิกไม่ได้ ว่างไม่ได้ เป็นต้องหาที่สูบบุหรี่เพื่อหย่อนใจ ไม่มีภาระต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ พักอาศัยโดยการเช่าอพาร์ทเมนท์อยู่ และไม่มีภาระหนี้สินใดๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือรถยนต์

ในกรณีนี้ จะถือได้ว่านายเอ มีโอกาสในการเสียชีวิตที่ “สูง” อันเนื่องมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ติดทั้งบุหรี่และสุรา แต่เมื่อมองพิจารณากันที่ผลกระทบของการเสียชีวิตแล้ว พบว่าอยู่ในระดับที่ “ต่ำ” เพราะไม่มีภาระใดที่ต้องกังวล

เมื่อทราบดังนี้แล้ว นายเอ ควรจัดการกับความเสี่ยงของตัวเองอย่างไร?

ในส่วนของโอกาสในการเสียชีวิตนั้น นายเอควรบริหารจัดการความเสี่ยงดังกล่าวด้วยวิธีการ หลีกเลี่ยง หรือลดและควบคุมความเสี่ยง โดยการลด ละ เลิก พฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพ พูดให้ง่ายเข้า คือ มองหาวิธีการลด “โอกาส” ที่จะทำให้ตัวเองเสียชีวิตลงเสีย หรืออาจมองไปที่การโอนความเสี่ยงโดยการทำประกันสุขภาพไว้ ก็ถือเป็นการบริหารความเสี่ยงที่มีความเหมาะสม

ในส่วนของความรุนแรงของผลกระทบ พบว่า หากนายเอเสียชีวิต ก็ไม่ได้ทำให้ครอบครัวหรือคนที่อยู่ข้างหลังได้รับผลกระทบ อย่างนี้ก็ถือได้ว่า ประกันชีวิตอาจไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับนายเอ เพราะเขาไม่มีหนี้สินใดๆ ที่เป็นภาระไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือรถยนต์ ไม่มีลูกและภรรยาที่ต้องเลี้ยงดู แถมยังไม่ต้องดูแลพ่อแม่ด้วย เนื่องจากทั้งสองท่านเป็นข้าราชการ มีบำเหน็จบำนาญที่จะดูแลตัวเองได้ยามเกษียณ

คำถามต่อมาคือ แล้วถ้าหากการเสียชีวิตของบุคคลหนึ่ง มีความรุนแรงของผลกระทบอยู่ในระดับ “ปานกลาง” – “สูง” เนื่องจากมีภาระที่ทิ้งไว้ให้กับครอบครัว อาทิ หนี้สิน หรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตหละ ควรบริหารความเสี่ยงอย่างไร?

หากการจากไปบุคคลใดส่งผลกระทบต่อครอบครัว และบุคคลที่อยู่ข้างหลังในระดับปานกลาง-สูง อย่างนี้สมควรที่จะต้อง “ทำประกันชีวิต” ไว้ และจะต้องมั่นใจว่า วงเงินเอาประกันนั้นสามารถครอบคลุมภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ไว้อย่างเพียงพอ

ยกตัวอย่างเช่น นายบี เป็นหัวหน้าครอบครัว มีภรรยาและลูก 1 คน ทั้งคุณบี และภรรยามีอาชีพเป็นพนักงานประจำทั้งคู่ รายได้ของครอบครัวมาจากคุณบี 70 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือมาจากภรรยา มีบ้านหนึ่งหลังจดจำนองธนาคารอยู่ 2 ล้านบาท ไม่มีหนี้สินอย่างอื่น ส่วนลูกกำลังศึกษาอยู่ระดับประถมศึกษา

ในกรณีนี้ ถือว่าคุณบี มีระดับความรุนแรงของผลกระทบหากเสียชีวิต อยู่ในระดับ “สูง” เพราะหากคุณบีไม่อยู่ รายได้ของครอบครัวจะหายไปถึงเกินครึ่ง และอาจทำให้เกิดปัญหาสภาพคล่องกับครอบครัวได้ โดยเฉพาะภาระค่าใช้จ่ายสำคัญก็คือ บ้าน ที่จดจำนองอยู่กับธนาคาร

จากตัวอย่างของคุณบี วงเงินเอาประกันของเขาไม่ควรต่ำกว่า วงเงินจดจำนองบ้าน + เงินเผื่อสำหรับภรรยาและการศึกษาของลูก อย่างนี้วงเงินเอาประกันที่ดีก็ควรอยู่ในระดับ 2 ล้านบาทขึ้นไป (ถ้ามีกำลังถึงระดับ 3 ล้านขึ้นไปก็ถือเป็นเรื่องที่ดี) เป็นต้น

ทั้งหมดนี้คือ แนวคิดง่ายๆ สำหรับการตัดสินใจซื้อประกันชีวิต ซึ่งอันที่จริงแล้ว การประกัน เป็นเพียงหนึ่งในทางเลือกของหลายวิธีเท่านั้น ไม่ใช่สูตรสำเร็จของการบริหารความเสี่ยง แต่ก็ถือเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญที่จะช่วยป้องกันปัญหาสภาพคล่อง และผลกระทบต่อความมั่งคั่งของคุณได้ ส่วนรูปแบบของการประกันนั้น ผมขอยกไว้พูดคุยกันในครั้งหน้าครับ

กฎทองของการประกัน – “คุณไม่สามารถซื้อประกันในเวลาที่ต้องการใช้มันได้”


ขอขอบคุณ Davinci
จาก ชมรม Richdadthai.com

วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ศึกษาสิทธิกันแห้ว เงินชราภาพ บำเหน็จ บำนาญลูกจ้าง

   แม้เมืองไทยจะมีการใช้ระบบ “ประกันสังคม” ในส่วนของคนที่ทำงานในบริษัทห้างร้านต่าง ๆ มานานแล้ว แต่ก็ยังมีผู้ประกันตนที่ถูกหักเงินจากค่าจ้างสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมไม่ น้อยเลยที่ยังไม่ค่อยรู้ หรือพอรู้…แต่ไม่ค่อยเข้าใจ เกี่ยวกับ สิทธิ ที่ตนเองพึงจะได้รับ จนรู้สึกว่าถูกหักเงินโดยไม่ได้ประโยชน์ จะให้ได้ประโยชน์ก็ต้องศึกษากติกาเกี่ยวกับสิทธิต่าง ๆ ให้ดีรวมถึงสิทธิในส่วนที่เรียกว่า “เงินชราภาพ” ด้วย
ทั้งนี้ พนักงานลูกจ้างบางคนอาจยังไม่รู้ หรือรู้แต่ไม่กระจ่าง หรือ เคยรู้แต่ลืมไปแล้ว ว่าเงิน 5% ของเงินเดือนทุกเดือนที่ถูกหักสมทบประกันสังคมนั้น จำนวน 3% ใน 5 % ที่ถูกหักไปคือ “เงินชราภาพ” หรือเงินออมตามกฎหมายประกันสังคม เป็นเงินที่รัฐบังคับให้ลูกจ้างแบ่งรายได้จากการทำงานส่วนหนึ่งเพื่อเก็บออม ไว้ใช้จ่ายในยามชรา

โดยสิทธิได้รับเงินทดแทนกรณีชราภาพนั้น “มี 2 แบบ” คือ
1. “บำเหน็จ” คือเงินที่เป็นก้อน กับ
2. “บำนาญ” ที่จะได้รับทุกเดือนไปตลอดชีวิต ซึ่งจะขอรับประโยชน์ทดแทนทั้ง 2 แบบนี้ได้เมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และต้องสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนแล้ว

ตามกฏเกณฑ์เงื่อนไขของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) จะมีการจัดเก็บเงินสมทบกรณีชราภาพทั้งจากนายจ้างและลูกจ้างฝ่ายละ 3% ของอัตราค่าจ้างลูกจ้าง

โดยในกรณีที่ส่งเงินสมทบน้อยกว่า 180 เดือน หรือน้อยกว่า 15 ปี จะได้รับเงิน “บำเหน็จชราภาพ” ซึ่งมีกฎเกณฑ์แยกย่อยอีกกล่าวคือ….

1. หากส่งไม่ครบ 12 เดือน มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพเฉพาะส่วนของตนเองกลับคืนทั้งหมดเท่านั้น

2. หากส่งเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเฉพาะส่วนของลูกจ้างและนายจ้างที่จ่ายสมทบเข้ากอง ทุน พร้อมดอกผลตามอัตราที่ สปส.กำหนด

3. กรณีส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน จึงจะได้รับเงิน “บำนาญชราภาพ” ที่เป็นแบบรับทุกเดือนไปจนตลอดชีวิต โดยขณะนี้ยังไม่มีผู้ใดได้รับเงินบำนาญดังกล่าวนี้ เพราะทาง สปส. เริ่มเก็บเงินสมทบกรณีชราภาพนี้เมื่อ 31 ธ.ค. 2541 ซึ่งในปี 2557 จึงจะเป็นปีแรกที่จะมีการเริ่มจ่ายเงินบำนาญชราภาพ แต่ระหว่างนับถอยหลังนี้…ก็ควรศึกษากฎเกณฑ์กันไว้

เกณฑ์เงินบำนาญชราภาพก็คือ ผู้ประกันตนจะได้รับเงิน 15% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (ฐานค่าจ้าง 15,000 บาท/เดือน) และถ้าส่งเงินสมทบมากกว่า 15 ปีจะได้รับเพิ่มอีกร้อยละ 1 ทุก ๆ ปี
อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงปี 2557 อัตราที่ว่านี้อาจมีการปรับเพิ่มอีก เพราะก่อนหน้านี้มีข่าวจะดำเนินการปรับเพิ่มเงินบำนาญ จากอัตรา 15% เป็น 20% ของค่าจ้าง และเพิ่มอัตราผลประโยชน์หลังปีที่ 15 จากเดิม 1% เป็น 1.5% เท่ากับจำนวนปีที่ผ่านมา นัยว่าเป็นการปรับให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม แต่เบื้องต้นหากยึดอัตราเดิมของบำนาญชราภาพ มีตัวอย่างการคำนวนเพื่อความเข้าใจดังนี้คือ….

สมมุติ นาย ก. เป็นผู้ประกันตนที่ได้รับค่าเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย เท่ากับ 13,000 บาท (การหาค่าเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย คือการนำค่าจ้าง 60 เดือนสุดท้ายมาบวกกัน และหารด้วย 60) บำนาญชราภาพ 15% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ซึ่งคำนวณโดยเอา 15x13,000 แล้วหารด้วย 100 ก็จะเท่ากับ 1,950
นาย ก. ก็จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเดือนละ 1,950 บาท ไปจนตลอดชีวิต
และถ้าเป็นกรณีที่นาย ก. จ่ายเงินสมทบมาเกิน 180 เดือน ก็จะได้เพิ่มอัตราเงินบำนาญชราภาพขึ้นอีก 1% ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน หรือ 1 ปี

เช่น จ่ายเงินสมทบมา 192 เดือน หรือ 16 ปี ก็จะได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตรา 16% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย, จ่ายเงินสมทบมา 204 เดือน หรือ 17 ปี ก็จะได้ 17% , จ่ายเงินสมทบมา 216 เดือนหรือ 18 ปี ก็ 18% เพิ่มเป็นรอบระยะเวลา 12 เดือนต่อ 1% อย่างนี้ไปเรื่อย ๆ แล้วเมื่อเอาเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นไปคำนวณตามวิธีที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น ก็จะได้อัตราบำนาญชราภาพที่จะได้รับในแต่ละเดือน

สำหรับขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน “บำเหน็จ-บำนาญชราภาพ” นั้น ก็เริ่มจาก
1. ผู้ประกันตน/ทายาทผู้มีสิทธิ กรอกแบบ สปส. 2-01 และยื่นที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน

2. เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณา

3. มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา

4. พิจารณาสั่งจ่ายซึ่งอาจจะเป็นเงินสดหรือเช็ค (ผู้ประกันตน/ผู้มีสิทธิมารับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน) หรือส่งธนาณัติให้ หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน

ทั้งนี้ ต้องยื่นเรื่องภายใน 1 ปีนับแต่วันสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างการเป็นผู้ประกันตน ซึ่งหากผู้ประกันตนเสียชีวิต ทางทายาทคือ บุตร สามี หรือภรรยา บิดาหรือมารดา ก็สามารถยื่นเรื่องขอรับสิทธิส่วนนี้ได้ แต่ตรงนี้ต้องระวังเพราะทายาทที่เป็นบุตร สามีหรือภรรยา บิดาหรือมารดา ต้องเป็น “โดยชอบด้วยกฎหมาย” ซึ่งเครื่องยืนยันสำคัญก็คือ “ทะเบียนสมรส” หรือการ “จดรับรองบุตร”ไว้ ถ้าไม่มีในส่วนนี้ก็จะ “เสียสิทธิ” ที่ควรได้ต้องถูกหักเงิน “ประกันสังคม” ทุกเดือน..ก็ต้องใส่ใจ ศึกษาสิทธิที่ควรได้และกฎเกณฑ์ที่เงื่อนไข..ให้พร้อม กับ “เงินชราภาพ” ก็นับถอยหลังรอรับได้เลย

จาก นสพ เดลินิวส์

 เมืองไทย บำนาญ เอ 85/60 (บำนาญ)

ชื่อ แบบประกัน :
เมือง ไทยบำนาญ เอ 85/60 (บำนาญ)
ราย ละเอียด :

การเกษียณ จะไม่เป็นเรื่องที่น่าหนักใจอีกต่อไป หากเรามีวินัยในการออมเงินอย่างถูกวิธีและทันท่วงที คุณสามารถช่วยให้ชีวิตหลังการเกษียณมีค่ายิ่งขึ้น ด้วยการเริ่มต้นออมตั้งแต่วันนี้ ในช่วงที่ยังมีทั้งแรงกาย และแรงใจ เพื่อชีวิตยามเกษียณของคุณจะเต็มไปด้วยความสุข ตามที่คาดหวังไว้ในวันหน้า 

 

 

เมืองไทยบำนาญ เอ 85/1 (บำนาญ)

ชื่อ แบบประกัน :

เมืองไทยบำนาญ เอ 85/1 (บำนาญ)
ราย ละเอียด :

วัยเกษียณเป็นช่วงวัยแห่งความสุข หลังจากผ่านช่วงเวลาการทำงานมาอย่างหนัก ถึงเวลาแล้ว...ที่จะต้องวางแผนชีวิตให้กับตนเองในบั้นปลายชีวิต ทั้งเงินไว้ใช้ในการดำเนินชีวิต ค่ารักษาพยาบาล ค่ากิจกรรมงานอดิเรก หรือสำหรับท่องเที่ยว และเงินไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน การก้าวไปสู่เป้าหมายของชีวิตที่วางไว้ไม่ใช่เรื่องยากหากรู้จักตั้งเป้า หมายของการใช้เงินเพื่อเริ่มต้นชีวิตวัยเกษียณอย่างสบาย

 

เมืองไทยคุ้ม ครองตลอดชีพ 99/20


ชื่อแบบ ประกัน :
เมืองไทยคุ้มครองตลอดชีพ 99/20
ราย ละเอียด :

การทำประกันชีวิตถือได้ ว่านอกจากเป็นการออมแล้วยังมีความ คุ้มครองควบคู่ไปด้วย เพราะไม่มีใครสามารถคาดเดาเหตุการณ์ในวันข้างหน้าได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับ ตัวเราบ้างไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ การเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง จนทำให้ไม่สามารถดูแลครอบครัวได้ ทางที่ดีหากมีการรับมือกับความ เสี่ยงหรือเรื่องที่ไม่คาดคิดด้วยการทำประกันชีวิตไว้บ้าง อย่าง น้อยก็สามารถลดภาระในเรื่องต่างๆได้ ให้แบบประกันภัยเมืองไทยคุ้ม ครองตลอดชีพ 99/20 ทำหน้าที่ดูแลและสร้างหลักประกันให้คุณและครอบครัวได้อุ่นใจ






สะสม ทรัพย์รับบำนาญ


ชื่อแบบประกัน :

สะสม ทรัพย์รับบำนาญ
ราย ละเอียด :

ชีวิตหลังวัยเกษียณ จะมีความสุขมากเช่นไร มอบ รางวัลเป็นหลักประกันให้กับชีวิต แต่งแต้มสีสันวัยเกษียณของคุณ หลังจากผ่านการทำงานอันแสนหนัก ให้แบบประกันภัย สะสม ทรัพย์รับบำนาญ เป็นคำตอบสุดท้ายสำหรับการวางแผนทางการเงินในอนาคตพร้อมรับเงินจ่ายคืน และความคุ้มครองชีวิตให้คุณอุ่นใจในหลักประกัน และมีรายได้สำหรับใช้จ่ายอย่างพอเพียงในช่วงวัยเกษียณอายุ พร้อมรับเงินครบสัญญาอีก 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย  


แบบ ประกัน เมืองไทย ประกันชีวิต




วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ความหมายของการประกันชีวิต 10 ข้อ

1.   การประกันชีวิต คือ การตอบสนองความจำเป็นและความต้องการขั้นพื้นฐานของคน 5 ประการ   

      ประกอบด้วย ปัจจัยสี่, ภาระ ความรับผิดชอบ, ความรักความห่วงใย, ความฝัน และการสร้างหลักทรัพย์



2.   การประกันชีวิต คือ รากฐานการวางแผนทางด้านการเงิน



3.   การประกันชีวิต คือ เครื่องมือสำหรับการวางแผนทางการเงินแบบเบ็ดเสร็จ



4.   การประกันชีวิต คือ การเตรียมเงินก้อนหนึ่งสำหรับการแก้ปัญหาทางการเงิน



5.   การประกันชีวิต คือ เงินก้อนหนึ่งที่จะถูกส่งมอบให้กับใครคนหนึ่งในวันหนึ่งข้างหน้า



6.   การประกันชีวิต คือ การการันตีความมั่นคงทางการเงินสำหรับคนที่เรารักและ ห่วงใย



7.   การประกันชีวิต เป็นการ ใช้เงินเพียงเล็กน้อย แต่มีผลมหาศาลในการรักษาคำสัญญาที่       
                          จะดูแลครอบครัวให้  อยู่ได้และอยู่ได้ ดีตลอดไป



8.   การประกันชีวิต  เป็น การปกป้องแผนการชีวิตของคุณไม่ให้ตายตามคุณไปด้วย



9.   การประกันชีวิต  เป็นการทำให้คำสัญญากลายเป็นการกระทำ



10.  การประกันชีวิต  ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะใครบางคนต้องจาก ไป แต่เพราะอีกหลายคนต้องมีชีวิต
                            อยู่ต่อไป


โดย คุณชาญวิทย์ เมธาชัยวุฒิ

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประกันชีวิต ยาสารพัดนึกของการออม

ประกันชีวิต ยาสารพัดนึกของการออม

เหตุผลว่าทำไมการทำประกันชีวิต จึงเป็นช่องทางการออมที่ทรงประสิทธิภาพและไม่เหมือนใคร

1.เติบโตสม่ำเสมอ ทบทวีคูณทุกปี การทำประกันชีวิตต้องจ่ายเบี้ยทุกปีในจำนวนที่เท่ากันจนกว่าจะครบสัญญา ทำให้ยอดเงินออมเพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ ซึ่งต่างจากการออมในรูปของเงินฝากธนาคาร หุ้น หรือกองทุนรวมที่อาจจะขึ้นๆ ลงๆ ตามภาวะของตลาด

2.เป็น แหล่งเงินทุนระยะยาว สัญญาประกันชีวิตส่วนใหญ่จะมีระยะเวลา 20 ปีขึ้นไป ทำให้บริษัทประกันชีวิต สามารถนำเงินไปลงทุนระยะยาวได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย บริษัทประกันชีวิตเป็นกลุ่มนักลงทุนที่ลงทุนในพันธบัตรระยะยาว ในสัดส่วนสูงสุด
   
3.ลดปัญหาขาด ดุลบัญชีเงินสะพัด ในภาวะที่รัฐบาลกำลังเร่งลงทุน โครงการเมกะโปรเจ็ก แต่รัฐบาลมีเงินทุนไม่เพียงพอ หากเงินออมในประเทศมีน้อย ต้องกู้เงินจากต่างประเทศ ทำให้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอาจสูงถึง 4.5% ของ GDP ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศได้

 4.รองรับปัญหาคนสูงอายุในอนาคตอีก 15 ปีข้างหน้า เมืองไทยจะมีคนชราที่อายุ 60 ปีขึ้นไปถึง 18% หากรัฐไม่สนับสนุนให้ผู้มีเงินได้รู้จักเก็บออมด้วยตนเองแล้ว มั่นใจได้เลยว่าหน่วยงานของรัฐจะไม่มีศักยภาพพอ ที่จะจุนเจือผู้สูงอายุเหล่านี้ได้

5.เป็นทางออกของผู้ไม่ ชอบความเสี่ยง คนทั่วไปมักเข็ดหลาบกับการลงทุนในหุ้นหรือกองทุนรวม ภาพของลุงบุญช่วย ที่ลงทุนโดยไม่รู้อีโหน่อีเหน่ยังคงฝังอยู่ในความรู้สึกของคนไทย หลายคนก็เพิ่งขาดทุนมหาศาลกับการลงทุนหุ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เขาจึงมองหาการเก็บออมในช่องทางที่เปิดโอกาสให้ออมได้สม่ำเสมอ แต่ไม่มีความเสี่ยง ขณะเดียวกัน ก็ต้องให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินเฟ้อ  ซึ่งการประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ จะเข้ามารองรับคนเหล่านี้ได้

6.รอง รับปัญหาดอกเบี้ยระยะยาวดิ่ง ปัญหาดอกเบี้ยระยะยาวกำลังเป็นเรื่องปวดหัวที่เกิดขึ้นทั่วโลก ขณะที่ดอกเบี้ยระยะสั้น 1-5 ปี กำลังปรับตัวสูงขึ้น แต่ดอกเบี้ยระยะยาวที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไปกลับลดลง

           ลองนึกภาพดูว่า อีก 20 ปีข้างหน้า พนักงานบริษัทคนหนึ่งเกษียณอายุโดยมีเงินออมอยู่ที่ 5 ล้านบาท
แต่ตอน นั้นดอกเบี้ยฝากประจำ 1 ปีอยู่ที่ 0.039% พันธบัตร 10 ปี ผลตอบแทนอยู่ที่ 1.216% อะไรจะเกิดขึ้น โปรดอย่าปฏิเสธว่ามันเป็นไปไม่ได้ เพราะตัวเลขนี้เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจริงที่ประเทศญี่ปุ่นเวลานี้

          แต่โชคดีที่เรายังมีกรมธรรม์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "แบบเงินได้ประจำ" ซึ่งจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ไปตลอดชีวิต ผู้เอาประกันเพียงแต่จ่ายเบี้ยประกันไประยะเวลาหนึ่ง เช่น 20 ปี จากนั้นก็รับเงินบำนาญในอัตราดอกเบี้ยคงที่ เช่น 5% ไปตลอดชีวิต ช่องทางการออมนี้จะเป็นหลักประกันที่แน่นอนสำหรับคนเกษียณอายุ ที่ไม่มีสถาบันการเงินไหนทำได้ ซึ่งในอเมริกานิยมทำกันมาหลายทศวรรษแล้ว

7.ช่วยลดภาระรัฐบาลและสังคม หลักการสำคัญประการหนึ่งของประกันชีวิตคือ การกระจายความเสี่ยง หากผู้เอาประกันเกิดเหตุเภทภัย เจ็บป่วย อุบัติเหตุ พิการ หรือเสียชีวิต เงินสินไหมที่ได้ย่อมช่วยผ่อนเบาภาระของผู้เอาประกัน และครอบครัว ไม่ให้กลายไปเป็นภาระของรัฐและสังคมรอบข้างได้

8.พัฒนาตลาดเงินและตลาดทุนให้มีสัดส่วนที่เหมาะสม ทุกวันนี้ เงินออมส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ที่ธนาคาร ซึ่งเป็นเงินทุนระยะสั้นให้ผลตอบแทนต่ำ ทำอย่างไรจึงจะให้เงินออมของประชาชนได้กระจายไปออมในแหล่งทุนระยะยาวมากขึ้น เพื่อจะทำให้เกิดผลตอบแทนในเชิงเศรษฐกิจต่อประเทศชาติมากกว่านี้

          จะเห็นว่า หากรัฐส่งเสริมให้ประชาชนออมในรูปของกรมธรรม์ประกันชีวิต ผลที่เกิดขึ้นเหมือนยิงกระสุนนัดเดียวได้นกหลายตัว แต่รัฐควรใจกว้างให้การสนับสนุน ด้วยการลดหย่อนภาษีเพื่อจูงใจด้วย

         มีชนชั้นกลางมากมายที่มีรายได้เดือนละ 50,000 บาทขึ้นไป แต่จากการวิจัยพบว่า คนเหล่านี้ แม้จะมีเงินออมอยู่ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและประกันสังคมก็ตาม แต่เมื่อถึงยามเกษียณอายุ คนเหล่านี้จะมีรายได้เพียง 13% ของเงินเดือนที่เคยได้รับ ซึ่งไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ

         หากต้องการให้เพียงพอ ต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 50% ของเงินเดือนสุดท้าย ซึ่งจากการคำนวณพบว่า เขาต้องมีเงินเก็บไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท ถ้าใช้เวลา 20 ปี เขาต้องเก็บเงินถึงปีละ 200,000 บาท จึงจะได้ยอดเงินตามเป้าหมาย (เมื่อรวมดอกผลแล้ว)

          สำหรับคนที่ไม่ชอบเสี่ยง ไม่ชอบลงทุนในหุ้น หรือในตราสารหนี้ที่เขาไม่คุ้นเคย เขายังมีทางเลือกที่จะออมเงินผ่านกรมธรรม์ประกันชีวิตได้ ถ้ารัฐมีมาตรการสนับสนุนที่ดีพอ เชื่อว่าจะมีคนสนใจออมเพิ่มไม่ต่ำกว่า 1 แสนคน ทำให้มีเงินออมเพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาทต่อปี และจะทบต้นเข้าไปทุกปีจนครบสัญญา

         เพียงแต่รัฐบาลเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันชีวิตให้เป็น 200,000 บาทต่อปี สำหรับกรมธรรม์ที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป (เมื่อเทียบกับกองทุนหุ้นระยะยาวที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีถึง 300,000 บาท และลงทุนเพียง 5 ปีปฏิทินเท่านั้น) เชื่อว่า จะมีผู้ที่พร้อมจะออมเพิ่มขึ้นทันทีนับแสนคน โดยรัฐจะสามารถเก็บภาษีจากธุรกรรมที่เพิ่มขึ้นมาชดเชยภาษีที่หายไปได้ในที่ สุด หาไม่แล้ว รัฐบาลต้องตอบคำถามประชาชนว่า "ทำไม คนที่นิยมความมั่นคง ไม่ชอบความเสี่ยง ห่วงใยในครอบครัว จึงไม่ได้รับสิทธิภาษีเหมือนคนที่กล้าเสี่ยงลงทุนในหุ้น ที่ใช้เวลาลงทุนเพียง 3 ปีกับอีกไม่กี่วันเท่านั้น"

ขอขอบคุณบทความดีๆ จาก คุณบรรยง วิทยวีรศักดิ์ กรุงเทพธุรกิจ

เก็บเงินให้รวย

เก็บเงินให้รวย - ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร

"หาได้มากน้อยเท่าไหร่ไม่สำคัญ จ่ายมากน้อยเท่าไหร่เป็นเรื่องสำคัญกว่า คือต้องใช้ให้น้อยกว่าที่หาได้ "

1. การเพิ่มรายได้ ควรหลีกเลี่ยงการเป็นมนุษย์เงินเดือน เพราะเป็นผู้ประกอบการจะรวยเร็วกว่า และเชื่อว่าคนที่ทำงานเก่งสำคัญกว่าคนที่เรียนเก่ง แต่ไม่ได้สนับสนุนให้ทิ้งการเรียน ควรมีการ เรียนรู้ต่อเนื่อง

2. สอนลูกให้เป็นผู้ประกอบการ โดยสอนให้มีพื้นฐานและประสบการณ์ในการทำงานตั้งแต่เด็กๆ และหากเป็นไปได้ก็ควรสนับสนุนในส่วนของทุนที่จะใช้ในการประกอบการด้วย

3. เคล็ดลับการออมเงิน
- หาได้มากน้อยเท่าไหร่ไม่สำคัญ จ่ายมากน้อยเท่าไหร่เป็นเรื่องสำคัญกว่า คือต้องใช้ให้น้อยกว่า ที่หาได้
- ควบคุมรายจ่ายถ้าอยากเก็บเงิน เมื่อได้เงินมาให้รีบแบ่งเก็บในธนาคารเพราะถ้า รอใช้ก่อนจะไม่เหลือเก็บ
- ไม่ต้องทำตามผู้อื่น ต้องมีเอกเทศของตัวเอง เราอยู่ในสังคมต้องเป็นไปตามสังคม แต่เราไม่จำเป็นต้องทำตามคนอื่นเสมอไป
- การเล่าเรียนของบุตร ควรวางแผนด้านการเรียนของบุตรโดยเน้นการศึกษาเล่าเรียนในประเทศ เพราะการศึกษาในประเทศไทยก็จัดอยู่ในระดับมาตรฐานและค่าใช้จ่ายในการเรียน ไม่สูงมาก
- ต้องระวังรักษาสุขภาพของตนให้แข็งแรง และไม่ควรทำประกันภัยหรือประกันชีวิตจนเกินสมควร
- ระวังเรื่องค้ำประกัน และการให้กู้ยืม เพราะ "การให้เพื่อนยืมเงิน ท่านจะเสียเงิน เสียเพื่อนและในที่สุดก็เสียใจ"

4. บริหารเงินออมของครอบครัวและวางแผนภาษี
- การสร้างฐานะของครอบครัวให้เป็นปึกแผ่นควรยึดหลักการ "ผัวเดียวเมียเดียว" และสามีภรรยาต้องช่วยกันออมทรัพย์
- การบริหารเงินของครอบครัว จะต้องรู้ว่าคุณมีทรัพย์สมบัติอะไรบ้างที่เป็นสินเดิม หรือเป็นสินสมรสเพื่อจะได้จัดการให้เกิดประโยชน์งอกเงย และใช้จ่ายร่วมกันได้
- การบริหารเงินออมจะต้องดูแลการหมุนเวียนของเงินสดให้มีสภาพคล่อง ไม่ทำประกันชีวิตมากเกินไป และลงทุนอย่างชาญฉลาดโดยการกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มดอกผล จากเงินออม

5. การประหยัดภาษี ควรพิจารณาว่าจะสามารถลงทุนในหลักทรัพย์ปลอดภาษี เช่นหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อลดผลกระทบจากการเสียภาษีได้หรือไม่

6. มาลดภาษีกับกองทุน RMF (Retirement Mutual Fund)
การลงทุนใน RMF สำหรับคนกินเงินเดือนนับเป็นช่องทางที่ช่วยลดภาษีได้มากที่สุด โดยควรเลือกกองทุน RMF แบบที่เหมาะกับเงินลงทุนและช่วงอายุในการลงทุนของคุณ นอกจากนี้ ยังควรวางแผนเรื่องภาษีเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ตามเงื่อนไขของกฎหมาย

7. รวบรวมทรัพย์สิน โดยจัดแยกสินสมรสและสินส่วนตัว จัดสมบัติให้ดูแลง่าย จัดการเรื่องทายาท มรดก และพินัยกรรม ที่สำคัญคือควรให้เมียรู้ทรัพย์สินทั้งหมด แต่อย่าตามใจเมียทุกเรื่อง

8. สอนลูกให้รวยน้ำใจ ด้วยการใกล้ชิดและให้ความอบอุ่นแก่ลูก พร้อมทั้งชี้แนะและในเวลาเดียวกันก็ควบคุมดูแลให้ไม่ออกนอกลู่นอกทาง

9. ภาษีการเงินสำหรับ "วัยรุ่น" - การวางแผนด้านภาษี เด็กๆ อาจให้ประโยชน์ทางภาษีแก่คุณได้เพราะเขาส่วนใหญ่ไม่มีรายได้ ทำให้อยู่ในกลุ่มผู้เสียภาษีต่ำที่สุด ดังนั้น หากคุณย้ายรายได้ส่วนหนึ่งไปให้กับตัวเด็ก คุณจะประหยัดภาษีเงินได้ลงได้
- ความรับผิดชอบต่อภาษี สำหรับวัยรุ่นที่มีรายได้ก้อนโต จะต้องหาที่ปรึกษาในการวางแผนภาษี การลงทุนและการออมทรัพย์ เพื่อเป็นการไม่ประมาท
- คำแนะนำทางการเงิน บทเรียนที่ดีสำหรับ วัยรุ่นคือแสดงให้พวกเขาเห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับการตัดสินใจทางการเงินของ ตัวเอง ข้อสำคัญคืออย่าปรนเปรอเด็กด้วยเงินและอย่าให้บัตรเครดิต

10. ข้อสรุปการสอนลูก
- สิ่งที่ห้ามลูกทำ คือ การยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและการพนัน
- สิ่งที่ลูกต้องทำ คือ รอบรู้วิชา ซื่อสัตย์สุจริต มีความขยันขันแข็ง และความโอบอ้อมอารี
- สิ่งที่ลูกควรรู้ ควรทำ คือ ต้องช่วยเหลือตัวเองและสามารถทำงานเป็นทีม รู้จักเก็บออมเงินและมีเมตตาสงสาร และที่สำคัญคือการมีระเบียบวินัย

11. จัดการมรดกอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแนะนำให้ทำพินัยกรรมด้วยตนเอง และควรต้องตรวจสอบดูแลเป็นระยะๆ (อาจจะทุก 5 ปี)

12. แม่บ้าน
- มีเมียดีเป็นศรีแก่เรือน
- คุณสมบัติและรูปสมบัติของภรรยาที่พึงมี ได้แก่ การเป็นคนมีจิตใจงาม มีการศึกษาพอสมควร เป็นเพื่อนคู่คิด รู้จักดูแลสุขภาพ ร่างกายของตนเองให้แข็งแรงและกระฉับ-กระเฉงอยู่เสมอ และมีความรับผิดชอบในเรื่องทรัพย์สมบัติ
- แม่มักจะเป็นผู้สอนลูกเพราะมีความใกล้ชิดสนิทสนมกันมากกว่า

13. การหารายได้
- รู้จักประมาณตน คือประหยัด ไม่ใช้จ่ายเกินรายได้ที่ได้รับ
- ระวังหนี้สินและการค้ำประกัน
- ให้ลูกเมียร่วมตัดสินใจในเรื่องเงินทองของครอบครัว

14. ค่าใช้จ่าย
- หนี้สินและบัตรเครดิต (การบริหารเงินกู้) ควรมีความรู้เรื่องการบริหารหนี้เพื่อลดภาระ ต่อไปจะได้เป็นไทแก่ตัว
- ประกันภัย-ประกันชีวิต ควรพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ ก่อนตัดสินใจ
- ควรทำงบการเงินของครอบครัวเพื่อจะได้รู้สถานะทางการเงินของครอบครัวได้ ชัดเจน

15. ช่วยกันออมและลงทุน
- ชายหญิง ใครใช้เงินเก่งกว่ากันและใครออมเงินเก่งกว่ากัน หากใครเก็บเงินหรือคุมค่าใช้จ่ายได้ดีกว่ากันก็ให้เป็นผู้นำในการดูแลเงิน
- เริ่มต้นออมก่อนก็จะรวยกว่า
- ผัวเมียแยกกันลงทุนดีไหม ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ขึ้นกับความเหมาะสม
- ทรัพย์สินที่น่าลงทุนต้องดูตามแต่สถานการณ์
- ต้องช่วยกันเตือนสติ เข้าตำรา "สองหัวดีกว่า หัวเดียว"

16. ลงทุนให้ได้ดอกผลงาม
- บ้านและที่อยู่อาศัยถือเป็นสิ่งที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุด
- เงินทองเป็นของมีค่าและซื้อเพชรให้ภรรยา เพราะเพชรและทองเป็นทรัพย์สินที่คล้ายกับบ้านคือได้ใช้ประโยชน์ ได้สวมใส่ ดูแล้วอิ่มอกอิ่มใจ และถือเป็นเงินออมประเภทหนึ่ง
- หุ้นกับเงินฝากธนาคารควรดูแลและปรับเปลี่ยนการลงทุนตามสภาวการณ์ตลาด
- ซื้อทรัพย์สินอื่น เช่น การสะสมของมีค่าต่างๆ แต่ควรเป็นของที่มีตลาดซื้อขายที่กว้าง และไม่ใช่ของผิดกฎหมายหรือผิดศีลธรรม
- มีการกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยง
- อย่าลืมสร้างบุญกุศล เพราะคนเราจะเจริญมาได้ ก็ต้องเป็นคนดี ช่วยเหลือผู้อื่น

17. จัดรูปแบบภาษีของครอบครัว
- เรื่องภาษีจะต้องรู้ เพราะเมื่อกฎหมายทุกฉบับพิมพ์ลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ถือว่าคนไทยทุกคนต้องรู้ จะแก้ตัวว่าไม่รู้เลยไม่เสียภาษีไม่ได้
- เมียก็ช่วยลดภาษีได้ในกรณีที่มีรายได้ของตนเอง และขอแยกเสียภาษี
- ควรตั้งบริษัทเพื่อลดภาษีหรือไม่นั้น ขึ้นกับความเหมาะสมและประเภทธุรกิจ

18. แผนการเงินของคนโสด
- หาเองใช้เองประหยัดกว่าก็น่าจะจริง แต่ในบางกรณีการมีคนช่วยหารายได้ให้เป็นทวีคูณก็น่าจะเป็นการดี
- เพื่อนคู่คิดสำหรับคนโสด อาจเป็นเพื่อนสนิท หรือญาติพี่น้อง
- การคำนวณว่าต้องมีเงินออมเท่าใดจึงพอเพียง ขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายของคุณ
- แก่ลงใครจะดูแล ขึ้นกับว่า "เราทำอย่างไร กับผู้อื่น เขาก็ทำกับเราอย่างนั้น" หากเราทำดีกับใคร เขาย่อมตอบแทน

19. บั้นปลายของชีวิต
- หากต้องการให้แก่แล้วมีกิน จะต้องเก็บออมตั้งแต่ยังหนุ่มสาว ดูแลรักษาสุขภาพให้ดี รู้จักควบคุมรายจ่ายให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า รายได้
- วิเคราะห์ความมั่งมีเพื่อความไม่ประมาท
- บุญกุศลช่วยท่านได้

ขอขอบคุณบทความดีๆ จาก ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร ประธานชมรมคนออมเงิน www.saverclub.org
   

วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

10 เคล็ดลับการออมเงินสู้วิกฤต

  ความ แตกต่างระหว่างความฝันกับความจริง บางครั้งก็มี จุดเริ่มต้นจากการเดินหน้าลงมือทำ จริงทันทีด้านหนึ่ง กับอีกด้านก็คือ การได้แต่คิดไม่ยอมทำ  เอาแต่ผลัดวันไปเรื่อยๆปล่อยให้เวลาทอดยาวออกไป กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็อาจสายเกินไปแล้ว การออมเงินก็เช่นเดียวกันครับ  เราไม่มีทางมีเงินออมและทำให้งอกเงยออกดอกออกผลได้เลย ถ้าไม่เริ่มต้นอย่างจริงจังตั้งแต่วันนี้

  ด้วยประสบการณ์มือ อาชีพที่คว่ำหวอดในวงการมานาน ทั้งในฐานะนักกลยุทธ์และที่ปรึกษาด้านการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล ที่มีโอกาสลงสนามสัมผัสกับปัญหาโดยตรง คุณอุมาพันธุ์ เจริญยิ่ง    ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล ธนาคารกสิกรไทย จำกัด มหาชน   ได้ถ่ายทอดเคล็ดลับการออม เงินสู้วิกฤตที่ได้จากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งทุกคนอาจนำสามารถนำมาปรับใช้ได้กับตนเองได้ตามถนัด จำนวน 10 ข้อ ดังต่อไปนี้ครับ

1.       ให้หัก 10 %ของรายรับเก็บ เอาไว้เป็นเงินออม เป็นการสร้าง วินัยการออมขั้นพื้นฐาน โดยแทนที่จะใช้สูตรเก่าคือ รายได้ – รายจ่าย = เงินออม ให้เปลี่ยนเป็น ราย ได้ - เงินออม = รายจ่าย  หมายถึงว่าทุกเดือนหรือทุกครั้งที่มีรายได้เข้ามา ต้องหักไว้อย่างน้อย 10 % เป็นเงินออมอย่างประจำและสม่ำเสมอเอาไว้ก่อน ที่เหลือจึงนำมาใช้จ่ายได้ นี่เป็นเสมือนบันไดขั้นต้นในการสร้างวินัยทางการเงินของตัวเอง

2.       เงินเดือนเพิ่มแต่ไม่ใช้เงินเพิ่ม    หลายคนบอกว่าข้อนี้ทำยากมาก เป็นเรื่องผืนธรรมชาติของคนเอามากๆเลย ก็เพราะยิ่งมีรายได้มากขึ้น ก็อยากใช้ของดี กินของแพง ซื้อเสื้อผ้าดีๆ  อยากมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเป็นธรรมดา แต่ก็มีไม่น้อยที่ดันใช้เงินเพลินเกินตัวจนเป็นหนี้เป็นสิน เคล็ดลับข้อนี้แม้จะดูฝืนไปบ้าง ก็ลองพบกันครึ่งทางก็คือ ใช้เงินเพิ่มก็ได้แต่ต้องให้น้อยกว่าหรือไม่เกินครึ่งหนึ่งของรายได้ที่ เพิ่ม  ถ้าทำได้รับรองมีเงินออมแน่นอนครับ

3.       เงินได้มาเท่าไหร่ อย่ารีบใช้ ให้เก็บทั้งหมดไว้ก่อน(เงินโบนัส)  เงิน พิเศษ ในรูปแบบต่างๆ เช่น เงินโบนัสที่มักเป็นเงินก้อนใหญ่และอาจถูกจัดเป็นเงินร้อนรีบใช้ มาไวไปไว นอกจากนี้บางคนถึงขนาดพอรู้ว่าจะได้เงินเท่านั้นเท่านี้ ก็ไปก่อหนี้รอเอาไว้ก่อนเลย เงินออกมาเมื่อไหร่จึงเอามาโปะคืน บางรายหนักกว่านี้ โดยไปเป็นหนี้มากกว่าโบนัสอีก คือนอกจากจะไม่เหลือเงินออมแล้ว ยังเป็นหนี้เพิ่มอีกด้วย

4.       ทำบัญชีรับจ่ายรายวัน   อย่าเพิ่งคิดว่าเป็นวิธีเฉพาะสำหรับคนขี้ตืดเท่านั้นนะครับ แต่เป็นวิธีการที่ง่ายที่ทำให้เรารู้ค่าใช้จ่ายอย่างละเอียด ประเมินการใช้เงินของตัวเองได้ทุกวัน คนที่ทำได้รวยไปหลายรายแล้วครับ

 5.       หยุดเวลา หมายถึงจำกัดรายจ่ายเอาไว้ ไม่ให้เพิ่มตามอายุเรา ฟังดูเหมือนจะคล้ายข้อ 2 เพียงแต่มีจุดของเวลากำกับ ไว้ด้วย โดยกลุ่มตัวอย่างเล่าให้ฟังว่าปัจจุบันอายุ 40 ปี แต่กำหนดเพดานรายจ่ายส่วนตัวเอาไว้เท่ากับตอนที่อายุ 30 ปี ทำมาสม่ำเสมอเป็น 10 ปีแล้ว เคยมีรายจ่ายเท่าไหนก็เท่านั้นคุมเอาไว้เลย ตอนนี้มีเงินเก็บก้อนโตตามเป้าหมาย

6.       แบ่งเงินเป็น 5 ส่วนอย่างเป็น ระบบ  เป็นการจัดการใช้เงินออกเป็น 5 ส่วนเท่าๆกัน(ส่วนละประมาณ 20%) คือ ดูแลพ่อแม่,จัดการเรื่องลูก,ออมไว้ใช้ยามฉุกเฉิน,ใช้จ่ายส่วนตัว, ลงทุนเพื่อให้เงินทองงอกเงย

7.       มีสติในการใช้จ่ายและนึกถึงหน้าลูกทุก ครั้งที่จะจ่ายเงินออกไป  ข้อนี้ กลุ่มตัวอย่างเป็นคุณยอดคุณแม่แสนดี ที่ตอนก่อนจะมีลูก ตัวเองจัดอยู่ในประเภทช้อปกระจาย แต่พอมีลูกแล้วปรากฏว่ามีพฤติกรรมการใช้เงินที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ทุกครั้งที่จะใช้เงินพอนึกถึงหน้าลูกแล้วไม่อยากใช้เงินเสียดาย อยากเก็บไว้ให้ลูกเยอะๆ ลูกจะได้สบายและมีอนาคตที่ดี ฟังอย่างนี้แล้วต้องยกตำแหน่งซุปเปอร์คุณแม่ให้ด้วยครับ(ผมอยากให้คุณลูกรู้ และสำนึกถึงความดีของคุณแม่จังเลย)

8.       ทยอยลงทุน  ใช้ในกรณีมีเงินออมแล้ว ควรรู้จักวิธีการลงทุนในหลายรูปแบบที่เหมาะสมกับตนเอง เพื่อเพิ่มอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงกว่าเงินฝากธนาคาร บนระดับความเสี่ยงที่รับได้ และควรเป็นลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป

9.       จ่ายไปเท่าไหร่ก็เก็บเงินชดเชยไว้เท่า นั้น  เช่นในกรณีไปรูดบัตรเครดิต เอาไว้หลายครั้ง รวมแล้วเป็นหมื่นก็จริง แต่ทุกครั้งที่รูดก็จะกันเงินเอาไว้เท่ากันทุกครั้ง ผลก็คือไม่ต้องปวดหัวเวลาจ่ายหนี้เนื่องจากกันเอาไว้จ่ายเรียบร้อยแล้ว ไม่กระทบกับเงินออมที่เตรียมเอาไว้


10.    ซื้อประกันชีวิต หรือกระจายเงินออมในรูปแบบของกองทุนระยะยาวเช่น กองทุนRMF หรือ กองทุน LTF เพราะจะได้มีข้อ อ้างที่สมเหตุสมผลฟังดูดีมีรสนิยม เวลาที่มีเพื่อนฝูงและบรรดาญาติที่รู้ว่าเรามีเงินออมมาก แล้วชอบมายืมเงินเรา เป็นทางทางออกนิ่มๆครับ                

          ทั้ง หมดนี้คือเคล็ดลับการออมที่มาจากผู้ที่ประสบความสำเร็จ มีสุขภาพการเงินที่ดี มีหนี้น้อย แบ่งเงินได้ใช้เงินเป็น ลองนำไปทดลองใช้นะครับ ระวังจะติดใจ

ขอบคุณ   :  หนังสือพิมพ์ดอกเบี้ยธุรกิจ รายสัปดาห์ประจำวันที่ 4-10 พฤษภาคม 2552

เมืองไทยประกันชีวิต 
ให้บริการปรึกษา แนะนำ การประกันชีวิตรูปแบบต่างๆ ของเมืองไทยประกันชีวิต
บริการ ที่ดี รวดเร็ว ถูกต้องยุติธรรม ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เราจะดำเนิน ทุกอย่างข้างต้น บนพื้นฐานของ ความเป็นมืออาชีพ และคุณธรรม

บริการให้ รายละเอียดแบบประกัน ถึงที่ 4 จังหวัด
เมืองไทย ประกันชีวิต เชียงราย
เมือง ไทย ประกันชีวิต เชียงใหม่
เมืองไทย ประกันชีวิต ลำพูน
เมืองไทย ประกันชีวิตร ลำปาง

คุณ ณพล ธณัชพลังกร
เมืองไทย ประกันชีวิต เลขที่ตัวแทน 103107 
Email:mtl.adviser@hotmail.com 
Email:mtl.adviser@gmail.com 
MSN:mtl.adviser@hotmail.com 
www.twitter.com/MTLAdviser 
www.mtl-adviser.hi5.com 
Tel:082-188-568-3

วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประโยน์ของการประกันชีวิต เมืองไทยประกันชีวิต

1. ประโยชน์ต่อครอบครับ 
คือ ทำให้ครอบครัวมีหลักประกันชีวิตที่มั้นคง มีรายได้ยามเดือดร้อน ใช้เป็นค่าใช้จ่ายของคู่ชีวิตที่เป็นหม้าย

2.ประโยชน์ต่อสังคม
คือ แบ่งเบาภาระด้านประชาสงเคราะห์ของรัฐ

3.ประโยชน์ต่อประเทศชาติ
ช่วยสะสมทุนเพื่อพัฒนาประเทศ ช่วยในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศชาติ เพราะบริษัทประกันชีวิตจะต้องนำเบี้ยประกันชีวิตไปลงทุนในกิจการต่างๆ ซึ้งเป็นการสนับสนุนให้เกิดการลงทุน และการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น

4.ประโยชน์ต่อธุรกิจ 
ช่วยลดความเสี่ยงของการดำเนินธุรกิจ

5.ลดภาษีเงินได้บุคลธรรมดาได้ 
การประกันชีวิตที่ระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปสามารถนำ เบี้ยประกันตามจ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท ไปลดภาษีเงินได้บุคลธรรมดาได้ เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ความหมายของการประกันชีวิต

การประกันชีวิต หมายถึง วิธีการที่คนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันขึ้นเืืพื่อร่วมกันเฉลี่ยภัย หรือเป็นวิธีการทดแทนการสูญเสียรายได้ อันเนื่องจากการประสบภัยเมื่อคนใดต้องพบกับภัยก็จะได้รับเงินก้อนหนึ่งจากบริษัทประกันชีวิต เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ตนเองและครอบครัว โดยเงินก้อนนี้เป็นเงินที่เฉลี่ยเก็บจากผู้สมัครทำประกันชีวิตกับบริษัทประกันชีวิต ซึ้งเงินเฉลี่ยนี้เรียกว่า "เบี้ยประกันชีวิต" และผู้ที่สมัครทำประกันชีวิตจะเรียกว่า "ผู้เอาประกันชีวิต" ส่วนบริษัทจะเรียกว่า "ผู้รับประกันชีวิต"




 การเสี่ยงภัยในความหมายของการประกันชีวิต
ได้แก่ ความเป็นได้ที่มีโอกาสจะเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควรเนื่องจากโรคภัยไข้เจ็บหรือประสบอุบัติเหตุ หรือความเป็นไปได้ที่ทุกคนจะประสบภัย การสูญเสีย รายได้ในอนาคตเมื่อพ้นวันทำงาน

ภัยที่มนุษย์จะมีโอกาสประสบ 
ได้แก่ การเสียชีวิคก่อนเวลาืิือันสมควร การสูญเสียอวัยวะ การทุพพลภาพ การสูญเสียรายได้ในยามชรา และการเจ็บป่วยต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล

การประกันชีวิตต่างกับการประกันวินาศภัย
คือ การประกันวินาศภัยชดใช้ค่าสินไหมตามความเสียหายจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย ส่วนการประกันชีวิตจ่ายค่าสินไหมตามจำนวนเงินเอาประกันเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต

การประกันชีวิตต่างกับการฝากเงินธนาคาร
คือ การประกันชีวิตมีความคุ้มครองและออมทรัพย์ในขณะเดียวกัน แต่การฝากเงินกัยธนาคารมีการออมทรัพย์อย่างเดียว ดังนั้นการประกันชีวิตมีข้อได้เปรียบการฝากเงินกับธนาคาร คือ มีความคุ้มครองมรณกรรม แต่ขณะเดียวกันผู้เอาประกันก็ต้องจ่ายเงินเบี้ยประกันเป็นค่าคุ้มครองด้วย

เลือกซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตอย่างไรดี


   หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีความสนใจจะซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตไว้เพื่อเป็นหลัก ประกันให้แก่ตัวเองและครอบครัว ลองพิจารณาตามแนวทางต่อไปนี้ดู ก่อนที่จะตัดสินใจว่าควรเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตประเภทใดดี จึงจะเหมาะสมและตรงกับความต้องการที่สุด

         
    สถานะทางครอบครัวและภาระความรับผิดชอบ
   
    คนโสดที่ไม่มีภาระใดๆ หรือคนที่มีครอบครัวแล้ว แต่ยังไม่มีบุตร เหมาะกับกรมธรรม์แบบสะสมทรัพย์และแบบเงินได้ประจำ แต่ถ้าเป็นคนที่มีครอบครัว มีบุตร และมีภาระดูแลบิดามารดา อาจจะเหมาะกับกรมธรรม์แบบตลอดชีพ ซึ่งมีเบี้ยประกันที่ต่ำกว่าแบบอื่น แต่จะช่วยลดความเสี่ยงในกรณีที่คุณเป็นเสาหลักของครอบครัวได้
   
           
   ภาระทางการเงิน
   
    หากไม่แน่ใจว่าจะสามารถส่งเบี้ยประกันตามจำนวนและเวลาที่กำหนดได้ คุณควรเลือกกรมธรรม์ที่ส่งเบี้ยประกันไม่สูงนัก แต่สามารถให้ความคุ้มครองได้ตามที่ต้องการ แม้ว่าผลประโยชน์ที่ได้รับอาจไม่มาก แต่ก็สามารถช่วยผ่อนหนักเป็นเบาในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้
   
           
   ภาระหนี้สิน
   
     กรณีที่คุณมีภาระหนี้สิน คุณควรเลือกซื้อกรมธรรม์แบบกำหนดระยะเวลา โดยให้ประโยชน์ที่ได้รับครอบคลุมหนี้เหล่านั้น เพราะหากคุณต้องเสียชีวิตหรือพิการจนไม่สามารถหารายได้ต่อไป ประกันชีวิตประเภทนี้จะช่วยชำระหนี้สินเหล่านั้นแทนคุณได้
   
           
      การเลือกประกันชีวิตประเภทที่เหมาะสม จะช่วยให้คุณและครอบครัวได้รับประโยชน์สูงสุด รวมทั้งไม่สร้างภาระทางการเงินให้คุณมากจนเกินไปด้วย

 By : edu.tsi-thailand.org

วันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การออม กับ การลงทุน

   By www.thaimutualfund.com

  เมื่อเรามีเงินเหลือใช้เป็นประจำทุกเดือน สิ่งที่เราควรคำนึงถึง คือ เราจะจัดการกับเงินเหลือใช้นั้นอย่างเหมาะสมได้อย่างไร เพื่อให้งอกเงยเพิ่มมากขึ้น โดยทั่วไปเรามักจะเก็บในรูปเงินสด หรือฝากธนาคาร บริษัทเงินทุน ซึ่งเราจะเรียกวิธีการนี้ว่า "การออม" หรือถ้าใช้วิธีการซื้อทองรูปพรรณ ทองแท่ง หรือที่ดินเก็บไว้ ซื้อพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ หุ้น หรือหลักทรัพย์อื่น ๆ ก็จะเข้าลักษณะที่เรียกว่า "การลงทุน"


คือ การเก็บสะสมเงินทีละเล็กทีละน้อยให้พอกพูนขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งการออมส่วนใหญ่มักจะอยู่ในรูปของเงินฝากกับธนาคาร หรือบริษัทเงินทุน โดยได้รับดอกเบี้ยเป็น ผลตอบแทน
คือ การนำเงินที่เก็บสะสมไปสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าการออม โดยการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล หรือหลักทรัพย์ต่าง ๆ ซึ่งจะมี ความเสี่ยง ที่สูงขึ้น



การเปรียบเทียบระหว่างการออมและการลงทุน
 


การออม การลงทุน
วัตถุประสงค์ เป็นการสะสมเงินเพื่อให้พอกพูนในระยะสั้น เผื่อไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน เป็นการสะสมเงินให้งอกเงยต่อเนื่องในระยะยาว
วิธีการสะสม เงินฝากธนาคาร และบริษัทเงินทุน ลงทุนในพันธบัตร หุ้นกู้ หุ้น กองทุนรวมกองทุนส่วนบุคคล กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ความเสี่ยง ความเสี่ยงต่ำ(เนื่องจากรัฐบาลค้ำประกันเงินฝากทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เต็มจำนวน) มีความเสี่ยงมากน้อยตามประเภทและลักษณะของหลักทรัพย์ที่ลงทุน ในปัจจุบันถือว่ามีความเสี่ยงสูงกว่าการฝากเงิน
ผลตอบแทน ดอกเบี้ย ดอกเบี้ย เงินปันผล และ/หรือ ผลกำไรหรือ ขาดทุนจากการลงทุน
ข้อได้เปรียบ มีสภาพคล่องสูง ได้รับผลตอบแทนในระยะยาวสูงกว่า
ข้อเสียเปรียบ ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินฝากต่ำ มีโอกาสขาดทุนจากการลงทุน

เก็บออมวันนี้ เป็นเศรษฐีในวันหน้า

เราทุกคนรับรู้กันมาตั้งแต่เล็กจนโตว่า ถ้าหากต้องการมีเงินใช้เยอะๆ ต้องการเป็นเศรษฐีเงินล้าน หรือ ต้องการมีอิสรภาพทางการเงิน เราต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการลงทุนให้มากๆ และรู้จักนำเงินที่มีอยู่ไปลงทุนเพิ่มเติม เพื่อให้เงินออกดอก ออกผลกลับมาให้กับเรามากขึ้นเรื่อยๆ

แต่เหตุไฉน คนหลายๆ คนจึงยังไม่สามารถมีอิสรภาพทางการเงินดังที่เคยฝันไว้ได้ บางคนมีชีวิตที่เรียกได้ว่า ไม่ใกล้เคียงกับสิ่งที่ฝันไว้เลยด้วยซ้ำ...?
สาเหตุสำคัญประการหนึ่ง ที่ทำให้เราทุกคนไม่สามารถมีฐานะทางการเงินอย่างที่ต้องการได้ก็คือ แม้เราจะรู้ว่าต้องนำเงินไปลงทุนอยู่เรื่อยๆ ทว่าทุกวันนี้...เงินที่ใช้จ่ายแต่ละเดือนก็ยังไม่พอเลย แล้วจะนำเงินที่ไหนไปลงทุนเพิ่มเติมได้ เราจึงยังไม่เคยได้เริ่มต้นลงทุนใดๆ?และดูเหมือนว่า ความฝันของเรากำลังกลายเป็นแค่ฝันกลางวันเท่านั้นเอง??

ดังนั้นเรื่องสำคัญที่เราต้องทำเพื่อให้ชีวิตทางการเงินของเราดีขึ้นควบคู่ ไปกับการลงทุน ก็คือ การเก็บออมเงินที่เราหามาได้อยู่เสมอๆ เพราะสุดท้ายแล้ว อนาคตทางการเงินของเราจะขึ้นอยู่กับ จำนวนเงินที่เราเก็บสะสมได้ ไม่ใช่จำนวนเงินที่เราหามาได้ ถ้าหากเราไม่สามารถเก็บออมเงินเพื่อนำมาลงทุนได้ เราก็ควรจะเลิกคิดถึงการมีอิสรภาพทางการเงินได้เลยครับ?

หนังสือ ?The Richest Man in Babylon? ซึ่งเป็นหนังสืออมตะเล่มหนึ่งที่เกี่ยวกับการสร้างตนเองให้เป็นเศรษฐี ได้กล่าวไว้ว่า ?หนทางแห่งความ มั่งคั่งร่ำรวย คือ การจ่ายเงินให้กับตนเอง 10 เปอร์เซ็นต์ของเงินที่หาได้ในแต่ละเดือนเสมอๆ จากนั้นจงนำเงินนั้นไปลงทุนให้งอกเงย ออกดอก ออกผล แล้วนำเงินทั้งหมดไปลงทุนต่ออย่างสม่ำเสมอ??
 
คนเราเมื่อได้เงินมาแล้ว มักจะนำเงินไปให้คนอื่นๆ (จับจ่ายใช้สอย ซื้อสินค้าและบริการต่างๆ จากผู้อื่น) ก่อนตนเองเสมอ และมักคิดว่าเมื่อใช้แล้วเหลือเงินเท่าไหร่ก็ค่อยเก็บออม ซึ่งสุดท้ายแล้ว เราก็จะไม่เหลือเงินให้ได้เก็บออมเลยในแต่ละเดือน และเมื่อไม่มีเงินออม เราย่อมไม่สามารถลงทุนใดๆ เพิ่มเติมได้เลย?
 
200498571-001.jpg
วิธีการมุ่งสู่ความมั่งคั่ง คือ ให้เราทำตรงข้ามกับสิ่งที่คนทั่วไปทำกันนั่นเอง โดยเมื่อเราได้รับ เงินเดือนหรือรายได้อื่นๆ ในแต่ละเดือนมา ให้เรานำเงินออกมาเก็บไว้ (จ่ายให้ตนเอง) 10 เปอร์เซ็นต์ก่อนเสมอ จากนั้นจึงนำเงินที่เหลือ อีก 90 เปอร์เซ็นต์ไปไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน?และเราต้องตั้งมั่นไว้เลยว่า ?จะไม่นำเงินจำนวนนี้ออกมาใช้? ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม ยกเว้นเพื่อนำเงินมาใช้สำหรับลงทุนเท่านั้น 

ถ้าหากเราต้องการใช้เงินเพื่อการอื่น เช่น ซื้อทีวีใหม่ เดินทางท่องเที่ยว ให้เราทำการเก็บเงินแยกต่างหากกับเงินจำนวน 10 เปอร์เซ็นต์นี้? 

ให้เราเริ่มต้นเก็บเงิน 10 เปอร์เซ็นต์ตั้งแต่วันนี้ ด้วยการไปเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารเก็บเงินของเดือนนี้ จากนั้นให้คอยเผ้ามองการเติบโตของเงินที่เราเก็บสะสมได้ แล้วเราจะประหลาดใจว่า เราสามารถเก็บเงินได้จำนวนมากภายในเวลาไม่นาน ?

เมื่อมีเงินออมสำหรับลงทุนแล้ว เราก็สามารถนำเงินจำนวนนี้ไปลงทุนได้ โดยที่ไม่ต้องห่วงว่าจะกระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวันของเราเลย ซึ่งนั่นหมายความว่า เราสามารถตัดสินใจลงทุนได้อย่างสุขุมและเยือกเย็นขึ้น เรามีเวลาเลือกการลงทุนที่เหมาะสมกับเรามากที่สุด สุดท้ายแล้วการตัดสินใจลงทุนของเราก็จะทำเงินกลับมาให้เราได้อีกมหาศาล และทำให้เราสามารถมีอิสรภาพทางการเงินได้ภายในเวลาไม่นาน?

หลายๆ คนอ่านมาถึงตรงนี้ อาจจะบ่นว่า ตัวเราคงไม่มีทางเก็บเงินถึง 10 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือนได้หรอก เพราะว่าเท่าที่ได้เงินเดือนมาทุกวันนี้ ก็ต้องนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันหมดแล้ว?
ถ้าหากว่าใครที่รู้สึกอย่างนั้นหรือใครที่มีหนี้สินอยู่มาก ทำให้การเก็บเงิน 10 เปอร์เซ็นต์นี้เป็นจำนวนที่มากเกินไป ให้เริ่มทำการเก็บเงินจากน้อยๆ ก่อน เช่น อาจจะเริ่มเก็บจาก 1 เปอร์เซ็นต์ และใช้จ่ายด้วยเงิน 99 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือก็ได้ จนกระทั่งเรารู้สึกว่าเรามีชีวิตอยู่ได้กับเงิน 99 เปอร์เซ็นต์อย่างไม่เดือนร้อน ก็ให้เราเพิ่มอัตราการเก็บเป็น 2 เปอร์เซ็นต์ และในระยะยาวก็เพิ่มอัตราการเก็บขึ้นไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึง 10 เปอร์เซ็นต์ หรือ แม้กระทั่ง 20 เปอร์เซ็นต์ก็ได้?


จงจำไว้เสมอว่า เราควรจะต้องมีเงินเก็บทุกๆ เดือน ไม่ว่าเงินเก็บเริ่มต้นของเราจะน้อยเพียงใด อาจจะแค่เดือนละ 100 บาท ก็ให้เราทำการเก็บไว้อย่างสม่ำเสมอ เพราะการมีเงินออมเพื่อการลงทุนนั้น คือ ขั้นแรกของการมีอิสรภาพทางการเงินนั่นเองครับ.

โดย ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์
www.bizkons.com 

วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เริ่มต้นสู่อิสรภาพทางการเงิน

6 ขั้นตอนสู่อิสรภาพทางการเงิน ? The 6 Steps to Financial Freedom

1) จัดทำบัญชี และงบการเงิน
การเดินทางสู่อิสรภาพทางการเงินก็เหมือนกันกับการเดินทางทั่วไปที่ต้องมี แผนที่นำทาง ดังนั้นก่อนจะเริ่มเดินทาง คุณเองควรจะรู้ก่อนว่า ปัจจุบันคุณอยู่ ณ จุดไหนของคำว่า ?อิสรภาพทางการเงิน?
ลองจัดทำงบการเงิน

2) ตั้งเป้าหมาย และวางแผน
เริ่มต้นจากอิสรภาพทางการเงินขั้นพื้นฐาน 6 ประการ คือ
? เศรษฐกิจพอเพียง
? เก็บ 10 เปอร์เซ็นต์ (ของรายรับทั้งหมด)
? สำรองเงินไว้ใช้จ่าย (อย่างน้อย 6 เดือน)
? ประกันชีวิต สุขภาพ และอุบัติเหตุ
? เรียนรู้ตลอดชีวิต
? บริจาคตามกำลัง
ลองพิจารณาดูว่าชีวิตของท่านบรรลุเป้าหมายพื้นฐานในแต่ละข้อข้างต้นหรือยัง ถ้ายังให้กำหนดหัวข้อเหล่านี้เป็นเป้าหมาย ที่สำคัญต้องกำหนดวิธีการ กรอบเวลา รวมถึงประเมินภาพในอนาคตไว้ด้วย
ส่วนใครที่มีอิสรภาพการเงินขั้นพื้นฐานแล้ว ก็อาจตั้งเป้าหมายที่สูงขึ้นไปได้ ไม่ว่ากัน

3) ลงทุนในการเรียนรู้
?High Understanding, High Returns? ยิ่งคุณเข้าใจธุรกิจที่คุณลงทุนมากเท่าไหร่ คุณก็จะสามารถสร้างกำไรจากมันได้มากเท่านั้น จงเรียนรู้ให้หนักขึ้น เพื่อจำกัดความเสี่ยงทั้งมวลที่อาจจะเกิดขึ้น โลกไม่ได้ยากเย็นอย่างที่เราคิด แต่ที่ใครหลายคนคิดว่ามันยาก เพราะเขาเหล่านั้นไม่เคยแบ่งเวลามาสนใจใยดีกับมันต่างหาก
จงแบ่งเวลาให้กับการเรียนรู้ทุกรูปแบบ อย่าจำกัดเฉพาะแต่ในห้องเรียน จงมองโลกให้กว้างเพื่อที่ท่านจะได้เห็นโอกาสที่ซ่อนอยู่อีกมากมายบนโลกใบนี้

เราลงทุนในการเรียนรู้ด้วยอะไรบ้าง ?
 
  เวลา
นี่คือสิ่งสำคัญที่สุดที่คุณต้องพิจารณา ปัจจุบันคุณให้เวลากับการเรียนรู้สักแค่ไหน ถ้าคิดว่ายังน้อยไป จัดแบ่งเวลาในการเรียนรู้ให้มากขึ้น แล้วคุณจะได้รับมากขึ้น

  ความคิด?
  คนสองคนนั่งเรียนคอร์สเดียวกัน คนหนึ่งเอากลับมาคิดต่อยอดไปสู่การกระทำ อีกคนได้แค่นั่งดีใจว่ารู้แล้ว ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับสองคนนี้ต่างกันมหาศาล

  สายสัมพันธ์
การลงทุนในสายสัมพันธ์ ก็สามารถสร้างการเรียนรู้ได้อย่างมากมาย คนหลายคนมักคบหา หรือคิดถึงคนอื่นยามที่ตัวเองเดือดร้อนเท่านั้น เรียนรู้ที่จะใช้เวลากับผู้อื่น แบ่งปันความรู้ ความคิด ความช่วยเหลือให้กับคนรอบข้างโดยเฉพาะคนที่แตกต่างจากคุณ เพราะมันจะช่วยให้โลกของคุณกว้างขึ้น ไม่เพียงแค่ความรู้ แต่มันคือโลกแห่งความรัก และความเอื้ออาทรกัน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เงินก็ซื้อหาไม่ได้

  ความรู้
เข้าร่วมทำงานกับองค์กร หรือชมรมที่ท่านสนใจ เพื่อสร้างโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน อันจะก่อให้เกิดบูรณาการทางความรู้และความคิดได้เป็นอย่างดี

การตั้งคำถาม
คำถามที่ดีเป็นการสร้างโจทย์ที่ยอดเยี่ยมให้แก่ชีวิต ในทางตรงกันข้าม คำถามแย่ ๆ ก็ทำให้คุณเป็นคนในด้านตรงกันข้ามได้เช่นกัน
ลองพิจารณาคำถามต่อไปนี้
ทำไม เราไม่เกิดมารวยเหมือนคนอื่นบ้าง?
ทำไม เราไม่โชคดีเหมือนคนอื่นเขาบ้าง?
เริ่มต้นใหม่ ตั้งคำถามที่ดีให้กับตัวเอง แล้วคุณจะได้คำตอบที่ดีกลับคืนมา
ฉันจะประสบความสำเร็จในชีวิตก่อนอายุ 35 ปี ได้อย่างไร?
คำถามใหม่ ๆ จะนำคุณไปสู่การลงทุนครั้งใหม่ในชีวิต จงใช้ชีวิตกับคำถามใหม่ ๆ เลิกถามคำถามเก่า ๆ
หุ้นตัวไหนน่าซื้อ?
กู้เงินแบงค์ไหน ดอกเบี้ยต่ำสุด?
มีเงินเก็บ 50,000 ทำธุรกิจอะไรดี?
สิ่งที่คุณถาม คือ สิ่งที่คุณจะได้รับ?
อื่น ๆ อีกมากมาย (ลองคิดต่อเองนะครับ)

4) แวดล้อมตัวคุณ ด้วยคนที่คิดแบบเดียวกัน
คนเราเป็นไปตามสภาวะแวดล้อมเสมอ อิสรภาพทางการเงิน เกิดได้ทันทีที่คุณเป็นผู้เลือกกระทำ ดังนั้น จงเลือกสภาวะแวดล้อมที่จะพาชีวิตคุณไปในทางที่ดี

5. ลงมือปฏิบัติ บันทึกผล
?บิดาของความสำเร็จ คือ การกระทำ? คำพูดนี้ยังคงเป็นสิ่งที่เป็นจริงเสมอ
ลงมือปฏิบัติตามแผนงานที่กำหนดไว้ จดรายละเอียดของทุกการกระทำสำคัญ ๆ ไว้ เพื่อเปรียบเทียบ และปรับแก้แผนงานสู่อิสรภาพทางการเงิน

6. ทบทวน
ตรวจสอบผลการปฏิบัติ กับแผนที่วางไว้ ว่าเป็นไปตามแผนแค่ไหน ต้องปรับแก้อะไร ในขั้นตอนนี้อาจปรึกษาผู้ประสบความสำเร็จเพื่อช่วยทบทวน และให้คำแนะนำในการปฏิบัติที่ถูกต้องต่อไป
หัวข้ออะไรบ้างที่ต้องทบทวน

ความคิด
สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ต้องตรวจสอบตลอดเวลา หมั่นคอยเช็คและตรวจสอบความคิดของเราถูกต้อง หรือสอดคล้องกับแนวทางสู่อิสรภาพทางการเงิน หรือไม่

จิตใจ
ตรวจสอบจิตใจทั้งก่อนและหลังตัดสินใจใช้จ่าย หรือลงทุน จำเอาไว้ว่า การลงทุนที่ทำให้คุณรู้สึกไม่มีความสุขตั้งแต่ใส่เงินลงไป นั่นก็ถือว่า ขาดทุน เรียบร้อยแล้ว

งบการเงิน
ตรวจสอบแผนที่ทุกครั้ง โดยอาจทำเป็นประจำทุกเดือน เพื่อคอยตรวจสอบว่า เราเดินออกนอกลู่นอกทางหรือเปล่า หรือเราเข้าใกล้อิสรภาพทางการเงินเพียงใด
เริ่มต้นตรวจสอบตัวเอง จัดทำบัญชี และวางแผนสู่อิสรภาพทางการเงินตั้งแต่วันนี้ อย่าผัดวันประกันพรุ่ง จงจำเอาไว้ว่า ?อิสรภาพทางการเงิน เริ่มต้นจากก้าวเล็ก ๆ ของทุก ๆ คน?

ขอบคุณที่มา www.bizkons.com

วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เลือกซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตอย่างไรดี


หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีความสนใจจะซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตไว้เพื่อเป็นหลัก ประกันให้แก่ตัวเองและครอบครัว ลองพิจารณาตามแนวทางต่อไปนี้ดู ก่อนที่จะตัดสินใจว่าควรเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตประเภทใดดี จึงจะเหมาะสมและตรงกับความต้องการที่สุด

สถานะทางครอบ ครัวและภาระความรับผิดชอบ
   
    คนโสดที่ไม่มีภาระใดๆ หรือคนที่มีครอบครัวแล้ว แต่ยังไม่มีบุตร เหมาะกับกรมธรรม์แบบสะสมทรัพย์และแบบเงินได้ประจำ แต่ถ้าเป็นคนที่มีครอบครัว มีบุตร และมีภาระดูแลบิดามารดา อาจจะเหมาะกับกรมธรรม์แบบตลอดชีพ ซึ่งมีเบี้ยประกันที่ต่ำกว่าแบบอื่น แต่จะช่วยลดความเสี่ยงในกรณีที่คุณเป็นเสาหลักของครอบครัวได้
     
ภาระทางการเงิน
   
     หากไม่แน่ใจว่าจะสามารถส่งเบี้ยประกันตามจำนวนและเวลาที่กำหนดได้ คุณควรเลือกกรมธรรม์ที่ส่งเบี้ยประกันไม่สูงนัก แต่สามารถให้ความคุ้มครองได้ตามที่ต้องการ แม้ว่าผลประโยชน์ที่ได้รับอาจไม่มาก แต่ก็สามารถช่วยผ่อนหนักเป็นเบาในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้
     
ภาระหนี้สิน
   
      กรณีที่คุณมีภาระหนี้สิน คุณควรเลือกซื้อกรมธรรม์แบบกำหนดระยะเวลา โดยให้ประโยชน์ที่ได้รับครอบคลุมหนี้เหล่านั้น เพราะหากคุณต้องเสียชีวิตหรือพิการจนไม่สามารถหารายได้ต่อไป ประกันชีวิตประเภทนี้จะช่วยชำระหนี้สินเหล่านั้นแทนคุณได้
   
       การเลือกประกันชีวิตประเภทที่เหมาะสม จะช่วยให้คุณและครอบครัวได้รับประโยชน์สูงสุด รวมทั้งไม่สร้างภาระทางการเงินให้คุณมากจนเกินไปด้วย



ขอบคุณที่มา http://www.tsi-thailand.org

วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประกันแต่ละชนิด ควรรู้จัก และใส่ใจ

1. ประกันชีวิต
          กรมธรรม์ประกันชีวิต คือ สัญญาต่างตอบแทนที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้เอาประกันมีหน้าที่ต้องจ่ายเบี้ยประกันให้กับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า บริษัทประกันชีวิต โดยบริษัทประกันชีวิตมีหน้าที่ต้องจ่ายผลตอบแทน เรียกว่า ทุนประกันชีวิต ให้แก่ผู้เอาประกันหรือผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตหรืออยู่ครบตามสัญญาของกรมธรรม์ หรือกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า ประกันชีวิต คือ เงินสดสำรองจำนวนหนึ่ง ซึ่งเราจัดเตรียมไว้ล่วงหน้าเพื่อรองรับเหตุการณ์ร้ายแรงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับเราในอนาคต โดยเราไม่สามารถทราบได้ว่าเหตุการณ์นั้น ๆ จะเกิดขึ้นเมื่อใดและรุนแรงมากน้อยเพียงใด

2. ประกันอุบัติเหตุ
          สัญญาประกันอุบัติเหตุ คือสัญญาซึ่งผู้รับประกันตกลงว่า ถ้าผู้เอาประกันต้องประสบอุบัติเหตุจนได้รับบาดเจ็บหรือทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย ผู้เอาประกันจะได้รับเงินจำนวนหนึ่งตามความร้ายแรงแห่งผลที่ได้รับจาก อุบัติเหตุนั้น เช่น หากประสบอุบัติเหตุเสียอวัยวะใดไปก็จะได้รับเงินจำนวนหนึ่ง หากถึงกับเสียชีวิตก็จะได้รับเงินจำนวนหนึ่ง ซึ่งมากกว่ากรณีไม่ถึงแก่ชีวิต
          ความมุ่งหมายของการประกันอุบัติเหตุ มิได้มุ่งหมายที่จะชดใช้ความสูญเสียเหล่านั้นเหมือนกับการประกันวินาศภัย แต่มุ่งหมายจะช่วยเหลือตัวผู้เอาประกันซึ่งได้รับเคราะห์กรรมจากอุบัติเหตุ นั้นให้สามารถดำรงชีพต่อไปได้ตามควรแก่อัตภาพ ซึ่งใกล้เคียงกับการประกันชีวิตมาก จึงต้องนำหลักเกณฑ์ของการประกันชีวิตมาใช้กับการประกันอุบัติเหตุด้วย ซึ่งในทางปฏิบัติของผู้รับประกันในปัจจุบันนี้ ก็ปรากฏว่าได้ออกกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุควบคู่ไปกับกรมธรรม์ประกันชีวิต ด้วย

3. ประกันวินาศภัย
          การประกันวินาศภัย คือ การที่ผู้รับประกันภัยทำสัญญายินยอมที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือชดใช้เงินจำนวนหนึ่งในกรณีที่เกิดความเสียหายเกี่ยวกัยทรัพย์สินที่เอา ประกันภัย โดยที่ผู้เอาประกันภัยตกลงจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้รับประกันภัย แบ่งประเภทของการประกันวินาศภัยออกเป็น 4 ประเภท คือ
          1.ประกันอัคคีภัย หรือที่เรียกกันว่าประกันไฟ
          2.การประกันภัยรถยนต์ คือ การประกันความเสียหายอันเกิดจากการใช้รถยนต์
          3.การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง คือ การประกันความเสียหายแก่เรือและทรัพย์สินหรือสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขน ส่งทางทะเล และยังขยายขอบเขตความคุ้มครองไปถึงการขนส่งสินค้าทางอากาศและทางบก
          4.การประกันภัยเบ็ดเตล็ด คือ การประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากอุบัติเหตุ หรือเกิดจากเหตุที่มิได้คาดหมายไว้ ซึ่งอยู่นอกเหนือความคุ้มครอง จากการประกันอัคคีภัย การประกันภัยทางทะเลและการขนส่ง การประกันภัยรถยนต์ 




วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เมืองไทย Smile Club ศูนย์รวมกิจกรรมเพื่อความสุขและรอยยิ้มของคนหัวคิดทันสมัย





เมืองไทย Smile Club ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2547 โดยมีแนวคิดเริ่มต้นจากการ ต้องการมอบความสุขและรอยยิ้มแก่ลูกค้า โดยมี สโลแกน “เมืองไทย Smile Club ศูนย์รวมกิจกรรมเพื่อความสุขและรอยยิ้มของคนหัวคิดทันสมัย” ซึ่งคลับแห่งนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อมอบกิจกรรมดี ๆ แก่ลูกค้าเมืองไทยประกันชีวิต
โดยไม่เพียงแต่มอบกิจกรรมให้แก่ลูกค้าเพียงอย่างเดียว แต่เรามอบความสุขให้ลูกค้าในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นส่วนลดร้านค้า ร้านอาหาร โรงพยาบาล และโรงแรมที่พักทั่วประเทศ หรือ ส่วนลดการแสดงต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ผ่านบัตรเมืองไทย Smile Club ซึ่งเป็นบัตรที่ เมืองไทย Smile Club จัดขึ้นให้กับสมาชิกเมืองไทย Smile Club เพื่อใช้สำหรับเข้าร่วมกิจกรรม หรือรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ภายใต้แนวคิด “บัตรแห่งความสุขที่แท้จริงของคนหัวคิดทันสมัย” โดยแบ่งประเภทออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ซึ่งแตกต่างกันไปตามเบี้ยประกันที่ชำระ ได้แก่ ประเภทบัตร Smile Card บัตร Platinum Card และบัตร Prestige Card

   นอกจากนี้เมืองไทยประกันชีวิตยังมีกิจกรรมให้ลูกค้าตลอดทั้ง ปีผ่านการใช้คะแนนสะสม Smile Point ซึ่งมาจากเบี้ยประกันที่ชำระทุก 1,000 บาท ของกรมธรรม์ประกันชีวิตสามัญตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2547 รับคะแนนสะสม Smile Point 1 คะแนน (ยกเว้นเบี้ยประกันที่มาจากกรมธรรม์ประกันชีวิตประเภทชำระครั้งเดียว เบี้ยประกันทุกๆ 10,000 บาท รับคะแนนสะสม Smile Point 1 คะแนน)

   โดยสามารถนำคะแนนสะสม Smile Point มาแลกเข้าร่วมกิจกรรม หรือรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ มากมายจากเมืองไทย Smile Club โดยเรามีหลายแคมเปญที่จัดแก่ลูกค้า อาทิ เมืองไทย Smile Concert ซึ่งจัดให้ลูกค้าในทุก ๆ ปี รวมถึงการจัดกิจกรรมให้แก่ลูกค้าตามไลฟ์สไตล์ของลูกค้าเมืองไทยประกันชีวิต (โดยกิจกรรมเหล่านี้ทางเมืองไทย Smile Club เป็นผู้จัดขึ้นเองทั้งสิ้น )
    อาทิ กิจกรรมไหว้พระ ท่องเที่ยว ช้อปปิ้ง แต่งหน้า กิจกรรมครอบครัว หรือแม้กระทั่งการเรียนทำอาหาร การจัดดอกไม้ เมืองไทย Smile Club ก็จัดให้ตามรูปแบบที่ลูกค้าชื่นชอบ โดยเมืองไทยประกันชีวิตยังได้สื่อสารไปยังลูกค้าด้วยการจัดทำสื่อโฆษณาชุด ใหม่ออกมาทั้ง 7 version อาทิ ธรรมะ กิจกรรมกลางแจ้ง เลขาส่วนตัว Live Show การแสดงจากต่างประเทศ และแต่งหน้า เป็นต้น ซึ่งเป็นการสื่อถึงกิจกรรมที่ทางเมืองไทย Smile Club จัดขึ้นแก่สมาชิก โดยในการสมัครเข้าเป็นสมาชิกเมืองไทย Smile Club ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพียงกรอกใบสมัครส่งมาที่บริษัทเมืองไทยประกันชีวิตเท่านั้น หรือโทรมาสมัครที่ 1766 เมืองไทย Smile หรือสำนักงานสาขาของเมืองไทยประกันชีวิตทั่วประเทศ หรือสมัครผ่านทางเว็บไซต์ก็สามารถทำได้ เพียงเป็นลูกค้าของเมืองไทยประกันชีวิตเท่านั้น
กิจกรรมที่ น่าสนใจของเมืองไทย Smile Club ที่ผ่านมา
1. เมืองไทย Smile Concert ซึ่งจัดขึ้นแก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เฉพาะสมาชิกเมืองไทย Smile Club เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น Flexi sexy non-Stop dance Concert รวมถึงการปิดรอบการแสดง 3 หนุ่ม 3 ไมค์ เฉพาะสมาชิกเมืองไทย Smile Club ในช่วงที่ผ่านมา

2. เมืองไทย Smile Shopping โดยได้ร่วมกับห้างสรรพสินค้า เดอะมอลล์ และเซ็นทรัล พลาซ่า ในการมอบสิทธิพิเศษในการร่วมลุ้นรางวัลจากการ Shopping ภายในห้าง เป็นต้น

3. เมืองไทย Smile Movie day จัดแคมเปญลดค่าตั๋วหนังทุก ๆ วันศุกร์ กับเมเจอร์ทุกสาขา 50% และ ล่าสุดในปีนี้ได้จับมือกับ SF Cinema มอบสิทธิ์พิเศษดูหนังฟรีที่ SF Cinema ทุกสาขา เพียงนำคะแนนสะสมมาแลกรับบัตรชมภาพยนตร์ พร้อมรับคูปองชิงรางวัล ดูหนังฟรีตลอดทั้งปี

4. เมืองไทย Smile Food Rally ร่วมกับร้านอาหารที่เป็นพันธมิตรกับเมืองไทยประกันชิวิตในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล กว่า 100 ร้าน ในการให้ส่วนลดพร้อมลุ้นรับรางวัล

5. เมืองไทย Smile Kids Club คลับสำหรับน้อง ๆ อายุต่ำกว่า 12 ปี มาร่วมทำกิจกรรมกับเมืองไทย Smile Club อาทิ การเข้าค่าย English Camp ในประเทศ ไม่เพียงเท่านี้เรายังพาน้อง ๆ ไปทัศนศึกษาถึงประเทศสิงคโปร์มาแล้ว อีกทั้งยังมีการจัดชั้นเรียนสำหรับน้อง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเรียน ร้อง เต้น วาดรูป ทำอาหาร เราก็จัดให้ หรือแม้กระทั่งให้น้อง ๆ เรียนคอร์สเจ้าหญิงก็มีนะ

6. จัดกิจกรรมพาลูกค้าไปเที่ยว ในประเทศ และต่างประเทศ อาทิ สิงคโปร์ ฮ่องกง เกาหลี หรือในประเทศไทย ก็จะเป็นเชียงใหม่ เป็นต้น

7. กิจกรรมสุขกับอนุภาพแห่งบุญ ด้วยการพาสมาชิกไปทำบุญไหว้พระที่วัดทั้งในเขตกรุงเทพฯ ปริมาณฑล และต่างจังหวัด กับอาจารย์วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ และอาจารย์คฑา ชินบัญชร

8. เมืองไทย Smile Cooking Time กิจกรรมเรียนทำอาหารทั้งไทย และเทศ

9. กิจกรรมแต่งหน้ากับช่างแต่งหน้ามืออาชีพ

10. กิจกรรมเรียนจัดดอกไม้ กับครูสอนจัดดอกไม้มืออาชีพ

11. กิจกรรมสำหรับผู้สูงวัย ที่เมืองไทย Smile Club ลูกค้าสมาชิกเมืองไทย Smile Club อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป มาร่วมเรียนรู้ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตขั้นพื้นฐาน กับชมรม OPPY (Old People Playing Young)

12. กิจกรรม “เมืองไทย Smile Society” ที่เมืองไทย Smile Club ชวนสมาชิกเมืองไทย Smile Club และลูกค้าเมืองไทยประกันชีวิต มาร่วมมอบความสุขแบ่งปันรอยยิ้มให้กับน้องๆ ผู้ด้อยโอกาสจากชุมชมแออัดในโครงการบ้านมั่นคงด้วยการบริจาคคะแนนสะสม Smile Point เพื่อสมทบทุนให้น้องๆ ได้มีโอกาสทำความฝันของตัวเองให้เป็นจริงกับการได้เดินทางไปท่องเที่ยว ทัศนศึกษาที่สวนสัตว์เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี

10 ข้อผิดพลาดเรื่องการเงิน


โบราณว่าไว้ “สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง”... จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากคุณจะเคยทำผิดพลาดมาบ้าง แต่หากผิดพลาดแล้วละเลย ไม่รู้จักปรับปรุงแก้ไข ก็จะก่อให้เกิดปัญหา กว่าจะรู้สึกตัวก็สายเกินไป เรื่องการวางแผนทางการเงินก็เช่นเดียวกัน ลองมาดูกันว่า 10 ข้อผิดพลาดเรื่องการเงินที่คนส่วนใหญ่มักทำนั้นมีอะไรบ้าง เพื่อหาวิธีป้องกันและช่วยให้วางแผนทางการเงินและบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด ไว้

 1. ผลัดวันประกันพรุ่งที่จะปฏิบัติตามแผนการเงินที่ตั้งไว้
การผลัดวันประกันพรุ่งอาจทำให้คุณพลาดโอกาสดีๆ ที่จะได้รับจากการออมหรือการลงทุน วิธีที่ดีที่สุดคือ ต้องปักหมุดวันที่จะเริ่มออมเงินหรือเริ่มจดบัญชีรายรับรายจ่าย และพยายามทำให้ได้ตามแผนที่วางไว้ 
2.
ใช้จ่ายมากกว่าที่ได้รับ
หลายคนไม่รู้ตัวว่ากำลังใช้ชีวิตความเป็นอยู่เกินฐานะ ใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้รับ และซื้อของใช้ที่ไม่จำเป็น ซึ่งการใช้เงินโดยไม่ระมัดระวังเช่นนี้จะนำไปสู่ปัญหาภาระหนี้สินได้ง่ายๆ อีกทั้งยังทำให้คุณมีเงินออมน้อยลงด้วย
3.
ออมไม่เพียงพอที่ควรจะออม
เมื่อมีรายได้ คุณควรจัดสรรเงินออมให้ตนเองก่อน มองเป้าหมายหลังเกษียณว่าคุณต้องการใช้ชีวิตอย่างไร ควรเตรียมพร้อมอย่างไร แต่ถ้าคุณยังไม่เริ่มออมเงินก็ควรจะเร่งออมเสียวันนี้ เพื่อให้มีเงินออมเพียงพอในอนาคต 
4.
ไม่สามารถล้างหนี้สินที่มีอยู่ได้
การมีหนี้สินจะทำให้คุณไม่สามารถออมเงินได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้น เมื่อเป็นหนี้คุณควรวางแผนชำระหนี้ต่างๆ ให้ดี และพยายามชำระหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายต่อเดือน
5.
หวังที่จะได้เงินก้อนโตง่ายๆ
หลายคนซื้อล๊อตเตอรี่หรือเล่นการพนันเพราะหวังจะได้เงินก้อนใหญ่มา แก้ไขปัญหาการเงินของตนเอง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกจุด ทางที่ดี คือ การหาทางแก้ที่สมเหตุสมผล ปรับเปลี่ยนวิธีการใช้จ่าย และเพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่ายให้มากขึ้น
6.
ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล
เมื่อกำลังขาดทุน ผู้ลงทุนส่วนใหญ่จะกระวนกระวายใจและตัดสินใจทำบางอย่างตามอารมณ์ ทำให้แผนการลงทุนที่วางไว้ผิดเพี้ยนไป ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น คุณควรตั้งสติและดูสถานการณ์อย่างรอบคอบ ไม่ทำอะไรตามอารมณ์ พร้อมทั้งนำแผนการลงทุนออกมาทบทวน โดยพยายามเรียนรู้ข้อผิดพลาดนั้นๆ และนำไปแก้ไขในครั้งต่อไป
7.
คิดว่าตนรู้จังหวะตลาดเสมอ
ในความเป็นจริงไม่มีใครสามารถกำหนดเวลาที่ตลาดจะขึ้นหรือลงได้ แนวทางการลงทุนที่ดีและปลอดภัยที่สุดคือ “การลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน” ซึ่งเป็นการลงทุนด้วยจำนวนเงินเท่าๆ กันทุกเดือนไม่ว่าตลาดจะขึ้นหรือลง
8.
เอาไข่ที่มีอยู่ใส่ไว้ในตระกร้าใบเดียว
การลงทุนมีความเสี่ยง แต่คุณสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการกระจายเงินลงทุนไปในสินทรัพย์หลายๆ ประเภท เช่น หุ้น พันธบัตร ที่ดิน ฯลฯ พรอมทั้งพิจารณาความสัมพันธ์ของการลงทุนในแต่ละประเภทด้วย เพราะหากการลงทุนแต่ละประเภทมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน อาจทำให้การกระจายความเสี่ยงไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
9.
ไล่ล่าผู้จัดการกองทุนผลตอบแทนสูญรายวัน
หากคุณพยายามจะลงทุนเฉพาะกองทุนรวมที่ให้ผลตอบแทนสูงแบบหวือหวา เป็นไปได้ว่าคุณอาจจะขาดทุนเข้าสักวัน ทางที่ดีคุณควรเลือกกองทุนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวทั้งในช่วงตลาดขาขึ้นและลง แต่ยังให้ผลตอบแทนแทนที่สม่ำเสมอ เพราะแม้ผลตอบแทนไม่หวือหวานัก แต่ก็มีความมั่นคง 
10. 
กล้าๆ กลัวๆ
ความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการลงทุนคือ ไม่กล้ารับความเสี่ยงอะไรเลย
ซึ่งอาจทำให้เสียโอกาสในการทำให้เงินงอกเงย

เหตุผลสำคัญที่เราต้องทำประกันชีวิต

ทำประกันชีวิต เมืองไทยประกันชีวิต

1. หลัก ประกันทางการเงินของครอบครัว
2. คุ้มครองค่าความ สามารถพิเศษเฉพาะตัว
3. ทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรณีทุพพลภาพถาวร
4. ทุนการศึกษาสำหรับ การศึกษาขั้นสูงสุดของบุตรแต่ละคน
5. คุ้มครองวงเงินสิน เชื่อ OD / หนี้สินระยะสั้น / หนี้สินระยะยาว
6. การสะสมทรัพย์พร้อม รับผลตอบแทนทางการเงินโดยไม่มีความเสี่ยง
7. สร้างสวัสดิการด้าน ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มเติมให้กับตนเองและสมาชิกอื่น ๆ ในครอบครัว
8. ทุนสำรองสำหรับการ รักษาโรคร้ายแรงต่อเนื่องโดยเฉพาะ
9. ทุนสำรองไว้ใช้หลัง วัยเกษียณอายุ
10. เงินบำนาญตลอดชีพ

วันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เคล็ด(ไม่) ลับ...สู่การเกษียณอย่างมั่งคั่ง

การมีอิสรภาพทางการเงินใน ขณะที่ยังมีสุขภาพที่แข็งแรงนั้น นับเป็นชีวิตที่น่าปรารถนาเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากคุณจะมีความมั่นคงทางการเงินจนไม่จำเป็นต้องทำงานหาเงินเพื่อ เลี้ยงชีพอีกต่อไป คุณยังมีเวลาทำในสิ่งที่รักหรือต้องการ ซึ่งนั่นก็ถือว่าเข้าข่าย “เกษียณ” ได้เช่นกัน แต่การเกษียณอายุก่อน 60 ปี และมีความมั่งคั่งทางการเงินนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย คุณต้องมีการวางแผนทางการเงินที่ดี ลองมาดูเคล็ดลับง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณมีความมั่งคั่งตอนเกษียณ

    * เริ่มออมอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ตอนอายุน้อยๆ โดยในช่วงแรกๆ อาจจะออมเงินประมาณ 10% ของราย ได้ แต่เมื่อหน้าที่การงานมีความมั่นคงมากขึ้น รายได้มากขึ้น ก็ควรจะเพิ่มสัดส่วนการออมให้มากขึ้น

    * รู้จัก เลือกลงทุน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ หุ้นสามัญ ฯลฯ โดยคำนึงถึงผลตอบแทนและความเสี่ยงที่ยอมรับได้

    * ฉลาดซื้อ รู้จักเลือกซื้อเฉพาะสิ่งที่จำเป็น คุ้มค่า และคุ้มประโยชน์ใช้งาน

    * ฉลาดใช้ รู้จักใช้จ่ายอย่างประหยัด รักษาสิ่งของต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะกับการใช้งานได้นานๆ รวมถึงการใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม สุขกาย สุขใจ ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยอีกด้วย                         


การเกษียณ จะไม่เป็นเรื่องที่น่าหนักใจอีกต่อไป หากเรามีวินัยในการออมเงินอย่างถูกวิธีและทันท่วงที คุณสามารถช่วยให้ชีวิตหลังการเกษียณมีค่ายิ่งขึ้น ด้วยการเริ่มต้นออมตั้งแต่วันนี้ ในช่วงที่ยังมีทั้งแรงกาย และแรงใจ เพื่อชีวิตยามเกษียณของคุณจะเต็มไปด้วยความสุข ตามที่คาดหวังไว้ในวันหน้า
วัยเกษียณเป็นช่วงวัยแห่งความสุข หลังจากผ่านช่วงเวลาการทำงานมาอย่างหนัก ถึงเวลาแล้ว...ที่จะต้องวางแผนชีวิตให้กับตนเองในบั้นปลายชีวิต ทั้งเงินไว้ใช้ในการดำเนินชีวิต ค่ารักษาพยาบาล ค่ากิจกรรมงานอดิเรก หรือสำหรับท่องเที่ยว และเงินไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน การก้าวไปสู่เป้าหมายของชีวิตที่วางไว้ไม่ใช่เรื่องยากหากรู้จักตั้งเป้า หมายของการใช้เงินเพื่อเริ่มต้นชีวิตวัยเกษียณอย่างสบาย
  
   คุณต้องการที่จะเกษียณอายุการทำงานเมื่อไร…..จะใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุแบบ ไหน…..และต้องการ มีเงินสำหรับใช้จ่ายหลังเกษียณอายุประมาณเดือนละเท่าใด

เกษียณอายุ อย่างมั่นใจ ........ กับ เมืองไทย รีไทร์เมนท์ เซฟเวอร์
 
ชีวิตหลังวัยเกษียณ จะมีความสุขมากเช่นไร มอบ รางวัลเป็นหลักประกันให้กับชีวิต แต่งแต้มสีสันวัยเกษียณของคุณ
 
ติดต่อ ที่ปรึษาเมืองไทยประกันชีวิต
คุณ ณพล ธณัชพลังกร
Email:mtl.adviser@hotmail.com 
Email:mtl.adviser@gmail.com 
MSN:mtl.adviser@hotmail.com 
Tel:082-188-568-3
 บริการให้ รายละเอียด แบบประกัน ถึงที่ 4 จังหวัด
เมืองไทย ประกันชีวิต เชียงราย
เมืองไทย ประกันชีวิต เชียงใหม่
เมืองไทย ประกันชีวิต ลำพูน
เมือง ไทย ประกันชีวิตร ลำปาง

เคล็ดไม่ลับ กับการออม

ในวัยหนุ่มสาวมักไม่ค่อยนึกถึงการวางแผนการเงินสำหรับอนาคตเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะเรื่องการเตรียมเงินออมไว้สำหรับตอนเกษียณอายุ เพราะอาจจะดูเป็นเรื่องไกลตัวมาก หนุ่มสาวส่วนใหญ่จึงมักจะบริหารจัดการเฉพาะค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในปัจจุบัน โดยหารู้ไม่ว่า... ยิ่งเริ่มออมช้าเท่าใด ยิ่งทำให้ยอดเงินออมในอนาคตลดลงมากขึ้นเท่านั้น เอาล่ะ... ลองมาดูเคล็ด (ไม่) ลับ เกี่ยวกับการออมกัน

กำหนด เป้าหมายในการออม
    ก่อนที่จะออมคุณควรกำหนดเป้าหมายว่าออมเงิน เท่าใดถึงจะพอดี และเพียงพอที่จะดำเนินชีวิตได้อย่างสบายๆ ในช่วงหลังเกษียณ เพราะถ้าออมมากเกินไป
ก็อาจจะเป็นการเบียดเบียนตนเอง ทำให้ต้องใช้ชีวิตอย่างกระเบียดกระเสียรในปัจจุบัน แต่ถ้าออมน้อยเกินไป เมื่อถึงเวลาที่ต้องการใช้เงิน ก็อาจจะมีเงินไม่พอใช้

เริ่ม ออมอย่างสม่ำเสมอ    
ในจำนวนเงินที่ไม่เกินความสามารถของตนเอง โดยในช่วงแรกๆ ที่มีรายได้ไม่มากนัก คุณอาจจะออมเงินประมาณ 10% ของรายได้ แต่เมื่อหน้าที่การงานมีความมั่นคงมากขึ้น รายได้มากขึ้น ก็อาจจะเพิ่มสัดส่วนการออมให้มากขึ้

แบ่ง เงินไปลงทุน
ก็อาจจะเป็นการเบียดเบียนตนเอง ทำให้ต้องใช้ชีวิตอย่างกระเบียดกระเสียรในปัจจุบัน แต่ถ้าออมน้อยเกินไป เมื่อถึงเวลาที่ต้องการใช้เงิน ก็อาจจะมีเงินไม่พอใช้     เงินเฟ้อเป็นตัวบั่นทอนให้เงินออมของคุณด้อย ค่าลง กล่าวคือ หากวันนี้คุณมีค่าครองชีพเดือนละ 10,000 บาท หรือปีละ 120,000 บาท ในอีก 20 ปีข้างหน้า หากเงินเฟ้อปีละ 5% ค่าครองชีพของคุณจะเพิ่มเป็นเดือนละ 26,500 บาท หรือปีละ 318,000 บาทเลยทีเดียว ดังนั้น เพื่อให้ได้เป้าหมายเงินออมตามที่ต้องการ คุณอาจต้องแบ่งเงินไปลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยสูงกว่าอัตราเงิน เฟ้อ

ขอบคุณที่มา http://www.tsi-thailand.org

กลยุทธ์ออมเงินแบบลบ 10 บวก 10

เมื่อคุณมีเป้าหมายในชีวิตและเป้าหมายในการออมเงินแล้ว คุณอาจสงสัยว่า... จะออมเงินอย่างไร ให้มีเงินออมตามเป้าหมายที่วางไว้ ในเรื่องนี้มีคำตอบง่ายๆ แต่มีประสิทธิภาพในการออมสูงมากอีกวิธีหนึ่งก็คือ  “กลยุทธ์ ออมเงินแบบลบ 10 บวก 10”

กลยุทธ์ออมเงินแบบลบ 10
เมื่อหาเงินมาได้เท่าไรให้หักไว้เป็นเงินออมก่อนที่จะเอาไปใช้จ่ายทันที 10% เช่น หากคุณมีเงินเดือน 10,000 บาท ก็หักไว้เป็นเงินออมก่อนเลย 1,000 บาท การออมเงินลักษณะนี้เหมาะกับคนที่มีวินัยทางการเงินค่อนข้างดี

กลยุทธ์ออมเงินแบบบวก 10
ใช้เงินไปเท่าไรต้องเก็บเงินเพิ่มให้ได้ 10% ของเงินที่ใช้ไป เช่น ซื้อของไป 2,000 บาท ก็ต้องออมเงินเพิ่มขึ้นอีก 200 บาทไปพร้อมๆ กัน วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่มีนิสัยชอบจับจ่ายใช้สอย เพราะจะช่วยเตือนความจำให้เก็บเงินทุกครั้งที่ใช้จ่าย
    อย่าลืมว่า... เมื่อคุณคิดที่จะออมแล้ว คุณจะต้องลงมือเก็บออมโดยไม่มีเงื่อนไข ไม่ผลัดวันประกันพรุ่ง และต้องวางแผนการใช้จ่ายเงินอย่างสม่ำเสมอ โดยการจดบันทึกหรือทำบัญชีายรับรายจ่ายเพื่อตรวจสอบพฤติกรรมการใช้จ่ายของตน เอง

ขอบคุณที่มา http://www.tsi-thailand.org 

ทำไมต้องวางแผนทางการเงิน

Image เพราะ “เงิน” มีบทบาทสำคัญ ไม่ได้เป็นเพียงสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน หรือเป็นเครื่องวัดมูลค่าของสิ่งของต่างๆ เท่านั้น แต่เงินยังสามารถเก็บสะสมเพื่อเพิ่มมูลค่าในอนาคตได้อีกด้วย ซึ่งการ วางแผนการเงินส่วนบุคคล (Personal Financial Planning) อย่างเหมาะสม จะช่วยให้เราสามารถจัดการกับเรื่องเงินๆ ทองๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

        และเพราะ "เงิน” เข้า มามีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกในการหาซื้อสิ่งของจำเป็นสำหรับใช้ในชีวิตประจำ วัน เราจึงควรให้ความสำคัญกับการวางแผนการเงินเหมือนเป็นกิจกรรมหนึ่งในชีวิต ประจำวัน เพื่อให้มีชีวิตที่ดีและมีความสุขในบั้นปลายชีวิต

        อาจเป็นเพราะคนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับ “การใช้เงิน” ก่อน ที่จะ “หาเงินได้” โดยพ่อแม่ ผู้ปกครอง ให้เงินเราใช้ตั้งแต่เรายังเป็นเด็ก เราจึงมีความสุขจากการใช้เงินทั้งที่ยังหาเงินไม่ได้ ต่อมาเมื่อเราหาเงินได้เองการจากทำงาน ปัญหาทางการเงินจึงเกิดขึ้น เพราะคิดว่าการหาเงินได้มากขึ้น จะสร้างความสุข ความสบายในชีวิตได้มากขึ้น แต่กลายเป็นว่าเงินที่หาได้เพิ่มขึ้น กลับไม่เคยเพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเลย
        การไม่รู้จักบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของตนเองให้เหมาะสมกับเงินที่หามาได้ การใช้เงินโดยไม่มีเป้าหมายทางการเงินอย่างเหมาะสม การไม่รู้จักทางเลือกในการรักษาและเพิ่มมูลค่าของเงิน รวมทั้งความไม่มีวินัยทางการเงิน อาจทำให้เราต้องทำงานหนักไปตลอดทั้งชีวิตเพียงเพื่อให้มีเงินใช้จ่ายเฉพาะ หน้า

        การวางแผนการเงินเป็นทักษะชีวิตที่จำเป็นสำหรับทุกคน เราควรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการวางแผนการเงินของตนเองอย่างรอบด้าน ทั้งในการหาเงิน การใช้เงิน การเก็บรักษาและการเพิ่มมูลค่าเงินอย่างชาญฉลาด ทีสำคัญเราต้องลงมือปฏิบัติ เพื่อสร้างนิสัยทางการเงินที่ดี ...ใคร อยากสบายทั้งในวันนี้และวันข้างหน้า คงต้องเริ่มวางแผนการเงินตั้งแต่เดี๋ยวนี้...

ขอบคุณที่มา http://www.tsi-thailand.org

ลงทุนกรมธรรม์ประกันชีวิต


ทางเลือกในการลงทุนมีให้เลือกหลายทาง การซื้อประกันชีวิตเป็นอีกทางเลือกที่ผู้
ลงทุน น่าพิจารณา และเป็นอีกทางที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถประหยัดภาษีได้
นอกเหนือจากการลงทุนในกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพและกองทุนหุ้นระยะยาว เพื่อนหลายคนที่
เป็นแฟนพันธ์แท้ของการประหยัดภาษี จะถามว่าจะเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบไหนดี

โดยทั่วไปกรมธรรม์ประกันชีวิตจะประกอบด้วย ส่วนของการประกันชีวิต ซึ่งรวมถึงการออมเงิน
ด้วย และส่วนเสริมคือการประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ และอื่นๆ ในกรมธรรม์มักจะระบุค่า
เบี้ยประกันแยกไว้ให้เห็นเป็นส่วนๆ ในส่วนของประกันชีวิต สามารถแบ่งย่อยออกเป็นสองส่วน
คือการออมและการประกันชีวิต ซึ่งในกรมธรรม์มักจะไม่แยกให้เห็น โดยมากหากมีลักษณะ
ของการออมมากเบี้ยประกันจะยิ่งสูงขึ้นเมื่อเทียบกับวงเงินเอาประกันที่เท่า กัน ก่อนที่จะ
กล่าวถึงวิธีการเลือกซื้อกรมธรรม์ขอทำความเข้าใจศัพท์ของการประกันชีวิตบาง คำเสียก่อน

วงเงินเอาประกัน (Sum insured) หมายถึงจำนวนเงินที่ผู้เอาประกันจะได้รับในกรณีเสีย ชีวิต
หรือเมื่อกรมธรรม์ครบกำหนด วงเงินเอาประกันอาจคงที่ตลอดอายุกรมธรรม์ หรือเพิ่มขึ้นตาม
ระยะเวลาตามที่กำหนดในกรมธรรม์

เบี้ยประกัน (Premium) หมายถึงค่าเบี้ยประกันที่ผู้ซื้อจะต้องชำระให้แก่บริษัทประกันภัยเป็น
รายเดือน ไตรมาส ราย 6 เดือนหรือรายปี

เงินปันผล มี 2 ประเภทคือ ประเภทผูกพันว่าจะต้องจ่ายให้แน่นอน และประเภทที่จะจ่ายตาม
ผลประกอบการของบริษัทประกันชีวิต ซึ่งมักจะขึ้นกับดุลยพินิจของบริษัทว่าจะจ่ายให้
เท่าไร มูลค่าเวนคืนเงินสด (Cash value) หมายถึงจำนวนเงินที่ผู้ถือกรมธรรม์จะได้รับ เมื่อผู้
ถือกรมธรรม์ต้องการเวนคืน (ยกเลิก)กรมธรรม์