วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ประเภทการประกันชีวิต เมืองไทย ประกันชีวิต

ประเภทสามัญ (Ordinary Life Insurance)
เป็นการประกันที่ให้ความคุ้มครองและออมทรัพย์ จำนวนเงินเอาประกันชีวิตแต่ละ กรมธรรม์ ขั้นต่ำตั้งแต่ 50,000 บาท จนถึงหลายล้านบาท โดยการชำระเบี้ยประกันอาจ เป็น รายปี ราย 6 เดือน ราย 3 เดือน หรือ รายเดือน ทั้งนี้ประเภทของการประกันชีวิต แบบสามัญนี้ ยังแยกย่อยออกเป็นแบบต่างๆ อีกถึง 3 แบบ ด้วยกัน คือ

1.) แบบชั่วระยะเวลา (Term Life Insurance)
เป็นการประกันชีวิต แบบชั่วระยะเวลา หรือ แบบเฉพาะกาล เป็นแบบการประกันชีวิต ที่มีเงื่อนไขการจ่ายเงินเอาประกันชีวิตให้แก่ผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต ภายในกำหนดระยะเวลา เช่น 1 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี เป็นต้น การประกันชีวิตแบบนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองสูง แต่ความสามารถในการชำระเบี้ยต่ำ เช่น ต้องการปลดเปลื้องหนี้สินชั่วคราว หนี้จำนอง เป็นต้น

2.) แบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance)
เป็นการประกันชีวิต แบบตลอดชีพเป็นการประกันชีวิตที่มีระยะเวลาคุ้มครองตลอดชีวิต ของผู้เอาประกัน(90 ปี) กล่าวคือ หากผู้เอาประกันเสียชีวิตเมื่อใด บริษัทฯจะชดใช้เงิน เอาประกันชีวิตให้แก่ผู้รับประโยชน์ การประกันชีวิต แบบนี้ให้ความคุ้มครองในวงเงิน สูงแต่ชำระเบี้ยประกันในอัตราต่ำ เหมาะสำหรับผู้เอาประกันชีวิตทีมีความต้องการที่จะ สร้างกองทุน มรดก หรือเพื่อปลดเปลื้องหนี้สินครั้งสุดท้าย

3.) แบบสะสมทรัพย์ (Endownment Life Insurance)
เป็นการประกันชีวิต แบบสะสมทรัพย์เป็นการคุ้มครองและออมทรัพย์โดยบริษัทฯจะจ่าย จำนวนเงินเอาประกันให้แก่ผู้เอาประกันชีวิต เมื่อมีชีวิตอยู่จนครบกำหนดสัญญา หรือ ว่าจ่ายเงินจำนวนเอาประกันให้แก่ผู้รับประโยชน์ ถ้าหากผู้เอาประกันเสียชีวิตภายใน ระยะเวลาที่กำหนด การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์จะมีการกำหนดระยะเวลาในการ คุ้มครองไว้แน่นอน เช่น 10 ปี 15 ปี 20 ปี หรือ 30 ปี

ประเภท อุตสาหกรรม(Industrial Life Insurance)
การประกันชีวิตประเภทอุตสาหกรรมนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย มีจำนวนเงินเอา ประกันต่อกรมธรรม์ต่ำ และไม่จำเป็นต้องมีการตรวจสุขภาพ โดยผู้เอาประกันสามารถ ชำระเบี้ยประกันเป็นรายเดือน

ประเภทกลุ่ม (Group Life Insurance)
การประกันกลุ่ม คือ การประกันที่ให้ความคุ้มครองกับกลุ่มบุคคล ภายใต้กรมธรรม์ฉบับ เดียวกัน สัญญาประกันกลุ่ม เป็นสัญญาระหว่างบริษัทประกันชีวิตกับบริษัทลูกค้า การประกันกลุ่มกำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในหมู่ผู้ประกอบการ เพื่อใช้เป็นสวัสดิการให้แก่ลูกจ้างของ บริษัท